สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 24 ธ.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นกำลังแรงยังแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและมีแนวโน้มจะเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
คาดการณ์ : ในวันที่ 25–26 ธ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียและภาคใต้ตอนล่างของไทย ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักได้
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 23 ธ.ค. 66 เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก : คลองสียัด ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง
ติดตามอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ปริมาณน้ำ > 100%
ภาคใต้ 1..แห่ง : คลองแห้ง
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ ต.สะพานหิน อ.หนองมะโมง และ ต.หนองขุ่น อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท และ ต.ห้วยคต อ.ห้วยคต ต.เมืองการุ้ง ต.หูช้าง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี จากการลงพื้นที่พบว่าสระน้ำ ลำห้วย อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก สำหรับใช้ผลิตระบบประปาหมู่บ้าน ในพื้นที่มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย จึงเสนอแนะให้ขุดเจาะบ่อดาลเพื่อนำแหล่งน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้ประโยชน์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของระบบประปาหมู่บ้าน โดยเฉพาะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำคลองไก่เถื่อน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาให้แก่โรงพยาบาลห้วยคต จ.อุทัยธานี
ทั้งนี้ ในระยะเร่งด่วน สทนช. ได้เน้นย้ำหน่วยงานท้องถิ่นสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ร่วมกันสงวนน้ำไว้ใช้เพื่ออุปโภคบริโภคก่อน เป็นลำดับแรก ส่วนระยะยาวได้มอบหมายให้ กรมทรัพยากรน้ำประสานกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการขุดลอกอ่างเก็บน้ำคลองไก่เถื่อนซึ่งอยู่ในวนอุทยานห้วยคตเพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำให้มากขึ้นในอนาคต
ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 7/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ภาคใต้ ในช่วงวันที่ 18-26 ธ.ค. 66 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก บริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (อ.เมืองนครศรีธรรมราช ขนอม สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา พระพรหม ปากพนัง ร่อนพิบูลย์ เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร) จ.พัทลุง (อ.เมืองพัทลุง และควนขนุน) จ.สงขลา (อ.เมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด สทิงพระ สิงหนคร ควนเนียง หาดใหญ่ บางกล่ำ นาหม่อม จะนะ และเทพา) จ.ปัตตานี (อ.เมืองปัตตานี ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ไม้แก่น ยะรัง ยะหริ่ง ทุ่งยางแดง กะพ้อ สายบุรี และหนองจิก) จ.ยะลา (อ.เมืองยะลา บันนังสตา และรามัน) จ.นราธิวาส (อ.เมืองนราธิวาส เจาะไอร้อง ตากใบ บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก และสุไหงปาดี)
2. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณ จ.พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกัก ที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด
3. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองท่าแนะ แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
พบพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินถล่ม จำนวน 2 จังหวัด 7 อำเภอ ดังนี้
1 จ.ยะลา (อ.บันนังสตา และธารโต)
2 จ.นราธิวาส (อ.จะแนะ ศรีสาคร รือเสาะ ระแงะ สุคิริน)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติ