สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 พ.ย. 66
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนภาคใต้ตอนล่าง (ฝั่งตะวันออก) ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
คาดการณ์ : วันที่ 25–27 พ.ย. 66ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 20.พ.ย. 66 น้อยกว่า ปี 65 จำนวน 3,869 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 64,030 ล้าน ลบ.ม. (78%)
ปริมาณน้ำใช้การ 38,832 ล้าน ลบ.ม. (69%)
การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่
ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 11 แห่ง ภาคเหนือ : กิ่วลม แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล และหนองปลาไหล
ระดับน้ำเกินระดับควบคุมต่ำสุด 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำ โดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช นราธิวาส ยะลา และปัตตานี
กองทัพบก นำกำลังพล และยานพาหนะ เข้าให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ในการบรรจุทรายใส่กระสอบ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าสู่ตัวอาคารสำนักงานสาธารณสุข อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
สทนช.ลงพื้นที่เกาะติดฝนตกหนักภาคใต้ในช่วง 2 สัปดาห์นี้ บูรณาการทุกหน่วยงานเร่งขับเคลื่อนการปฏิบัติงานเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัย จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้
นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ และเป็นประธานการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ครั้งที่ 1/2566 โดยในช่วง 2 สัปดาห์นี้จะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างจะมีฝนตกหนักเพิ่มมากขึ้น และมีน้ำทะเลหนุน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ
รัฐบาลมีความห่วงใยในสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคใต้ จึงได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม 12 มาตรการฤดูฝนปี 2566 อย่างเคร่งครัด การตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยเป็นหนึ่งใน 12 มาตรการรับมือฤดูฝน เพื่อเป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานในพื้นที่ อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำร่วมกันในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยให้เกิดความเป็นเอกภาพ
ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคใต้ ใช้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัดยะลา เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันด้านการบริหารจัดการน้ำและเผชิญเหตุทั้งในส่วนกลางและหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ เพื่อติดตาม วิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์น้ำ พร้อมแจ้งเตือน รวมถึงต้องเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ แผนเผชิญเหตุ และให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน