สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 พ.ย. 66
สภาพอากาศวันนี้ :บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกมีฝนฟ้าคะนอง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง
คาดการณ์:ในช่วงวันที่ 112 – 16 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับยังมีลมตะวันออกปกคลุมในบางช่วง ทำให้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้
มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 11 พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 3,931 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 64,111 ล้าน ลบ.ม. (78%)
ปริมาณน้ำใช้การ 39,944 ล้าน ลบ.ม. (69%)
การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำขนาดใหญ่
ระดับน้ำเกินระดับควบคุมสูงสูด 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดนและบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
ระดับน้ำเกินระดับควบคุมต่ำสุด 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคกลาง : กระเสียว ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ
3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
มาตรการและการช่วยเหลือ
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง ณ บริเวณซอยเยื้อนบำรุง ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อสนับสนุนและเตรียมพร้อมรับมือเหตุอุทกภัยในพื้นที่
สทนช.ผนึก 5 หน่วยงานนำร่องจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำโขงเหนือ เดินหน้าแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2566 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ลุ่มน้ำโขงเหนือ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 พื้นที่ลุ่มน้ำต้นแบบการดำเนินการบูรณาการอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำและพื้นที่เกษตรลาดชันซึ่งเสี่ยงต่อการพังทลายของดิน เป็นการผสมผสานรูปแบบการจัดการพื้นที่โดยใช้มาตรการเชิงนิเวศ (Nature based Solution) ร่วมกับการปรับรูปแบบการใช้ที่ดินให้เหมาะสม เกิดการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้แผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี เนื่องด้วยลุ่มน้ำโขงเหนือประสบปัญหาด้านอุทกภัยและภัยแล้งเป็นประจำ จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการ
ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และติดตามความก้าวหน้า “โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำโขงเหนือ” ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผังน้ำจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตพื้นที่ทางน้ำหลาก เพื่อใช้เป็นพื้นที่ระบายน้ำแทนการใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่จะขวางการไหลของน้ำ รวมถึงสามารถนำผังน้ำไปเชื่อมโยงกับผังเมืองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการกำหนดขอบเขตเส้นทางน้ำอย่างชัดเจน จะช่วยเรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบทางน้ำ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติด้านน้ำที่จะก่อให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และทำให้ประชาชนตระหนักถึงการทำกิจกรรมใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือสิ่งกีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งและน้ำท่วม
สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำท่าประเทศไทย
สถานการณ์น้ำส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง ยกเว้น บริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานการณ์น้ำท่าแม่น้ำโขง
คาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วง 5 วันข้างหน้าพบว่า แนวโน้มเพิ่มขึ้น 1 สถานี คือ สถานีเชียงแสน แนวโน้มลดลง 4 สถานี คือ สถานีจิ่งหง สถานีเชียงคาน หนองคาย และสถานีนครพนม แนวโน้มทรงตัว 2 สถานี คือ สถานีโขงเจียม และมุกดาหาร