สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 พ.ย. 66

สภาพอากาศวันนี้ :บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนยังคงปกคลุมภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า
คาดการณ์:ในช่วงวันที่ 10 – 11 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลงทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า และยังคงมีฝนตกในพื้นที่บางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 9 พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,078 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 64,067 ล้าน ลบ.ม. (78%)
ปริมาณน้ำใช้การ 39,899 ล้าน ลบ.ม. (69%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก แควน้อยบำรุงแดน และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 2 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
มาตรการและการช่วยเหลือ
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดผักตบชวา ในพื้นที่บริเวณท่าเรือทะเลบัวแดงบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงฤดูแล้งได้อย่างเต็มศักยภาพ
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการสูบน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ขอนแก่น และสุพรรณบุรี สามารถช่วยเหลือประชาชน 23,589 ครัวเรือน 38,308 คน และพื้นที่เกษตรกรรม 2,300 ไร่
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ดำเนินการจัดประชุมติดตามการเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยช่วงฤดูมรสุมภาคใต้ เมื่อวันที่ 8 พ.ย.66 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการบริหารจัดการสาธารณภัยและรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า กอปภ.ก. สั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝนสถานการณ์น้ำ และประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมทั้งกำชับให้จังหวัดบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ในการเตรียมความพร้อมและแผนเผชิญเหตุรองรับกรณีที่สถานการณ์ภัยในพื้นที่มีแนวโน้มรุนแรง ให้อพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไปยังพื้นที่ปลอดภัย หรือศูนย์พักพิงที่จัดเตรียมไว้โดยทันทีจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ รวมทั้งให้แจ้งเตือนประชาชน นักท่องเที่ยวให้ทราบสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นในพื้นที่ และวิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยเมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสาธารณภัย โดยใช้การสื่อสารทุกช่องทาง เพื่อให้ข้อมูลไปถึงประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
สถานการณ์น้ำท่า
สถานการณ์น้ำท่าประเทศไทย
สถานการณ์น้ำส่วนใหญ่มีแนวโน้มลดลง ยกเว้น บริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สถานการณ์น้ำท่าแม่น้ำโขง
คาดการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วง 5 วันข้างหน้าพบว่า แนวโน้มลดลง 6 สถานี คือ สถานีเชียงแสน เชียงคาน หนองคาย นครพนม โขงเจียม และมุกดาหาร