สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 พ.ย. 66
สภาพอากาศวันนี้ : มวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกพัดปกคลุมประเทศไทย อ่าวไทย และทะเลอันดามัน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์: ในช่วง 4–5 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 3 พ.ย. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 4,751 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 63,552 ล้าน ลบ.ม. (77%)
ปริมาณน้ำใช้การ 39,382 ล้าน ลบ.ม. (68%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกร และขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่+ น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ อ.แม่แจ่ม และภาคใต้ จ.ชุมพร อ.ปะทิว และ จ.สงขลา อ.ระโนด
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สถานการณ์อุทกภัย
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่ 2 จังหวัด (กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) รวม 12 อำเภอ 62 ตำบล 107 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 363 ครัวเรือน ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 66 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 3 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” โดยมีนายมาหะมะพีสกรี วาแม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ นายไพเจน มากสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนในพื้นที่จากจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา และยะลา ณ ห้องทานตะวัน ชั้น 1 โรงแรมหาดใหญ่ พาราไดส์ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเสนอ (ร่าง) ผังน้ำฉบับสมบูรณ์ ที่ปรับแก้หลังผ่านการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 2 และได้ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล สทนช. ได้ดำเนินการศึกษาโครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา พื้นที่ครอบคลุม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง และพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง สตูล และยะลา โดยเป้าหมายของการจัดการประชุม คือ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในฐานะ ผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือได้รับผลกระทบจากการมีผังน้ำ รวมทั้งภาคเอกชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าใจว่า
ฝั่งน้ำ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร ใช้งานอย่างไร และจะมีผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้ดำเนินการศึกษาควบคู่ไปกับการรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง
มาตรการและการช่วยเหลือ
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการสำรวจและตรวจสอบ เพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สระบ้านสบรี บ้านสบรี หมู่ที่ 6 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พร้อมทั้งยังให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ การดูแลรักษาโครงการ และได้ขอความร่วมมือกลุ่มผู้ใช้น้ำ ประชาชนในพื้นที่โครงการดังกล่าวอีกด้วย