สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 ต.ค. 66

สภาพอากาศวันนี้ : ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น รวมถึงมีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์: ในช่วง 30 ต.ค.-4 พ.ย. 66 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นฝนจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 29 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 5,547 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 62,887 ล้าน ลบ.ม. (76%)
ปริมาณน้ำใช้การ 38,717 ล้าน ลบ.ม. (67%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร อุบลรัตน์ และลำปาว ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก : ปราณบุรี
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และตาก ภาคกลาง จ.อุทัยธานี ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี สงขลา และตรัง
น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่ชุมชน รวม 2 จังหวัด 12 อำเภอ 62 ตำบล 115 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 543 ครัวเรือน ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
วานนี้ (29 ต.ค. 66) นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการอ่างเก็บน้ำห้วยปากแบ่ง พร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานีนายกรัฐมนตรีมีนโยบายในการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งของประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายของประชาชน โดยอ่างเก็บน้ำห้วยปากแบ่งเมื่อสร้างเสร็จจะต้องมีการส่งเสริมการประมง เพาะพันธุ์ปลาตามความต้องการของตลาด ควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ ส่งเสริมการเกษตรกรรมในพื้นที่
โครงการดังกล่าวก่อสร้างตั้งแต่ปี 2565 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถเก็บน้ำได้ 1.66 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 1,600 ไร่ สำรองน้ำอุปโภค-บริโภค 798 ครัวเรือน คิดเป็นประชากร 3,740 คน สามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยโดยตัดยอดน้ำได้ 1.594 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 600 ไร่ ผลการดำเนินงาน ณ ปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 24 ซึ่งเป็นไปตามแผนที่วางไว้
เนื่องจากปีนี้ จ.อุดรธานีได้รับผลกระทบจากเอลนีโญไม่มากนัก ทำให้ปริมาณฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 4 แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังมีโอกาสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงกลางปี 2567 รองเลขาธิการ สทนช. (นายชยันต์ เมืองสง) จึงขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2566/67 จำนวน 9 มาตรการ ตามที่ กนช. เห็นชอบแล้วเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานรับมือปัญหาภัยแล้งในปีนี้ โดยบูรณาการและขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) เร่งตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของอาคารและสิ่งปลูกสร้างด้านแหล่งน้ำโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนองแขนนางน้อย พร้อมระบบกระจายน้ำ ต.วังดาล อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2561 มีปริมาณน้ำเก็บกัก 1.2 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 225 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตร 1,500 ไร่ โดย ทน. มีแนวทางการพัฒนาเชื่อมโยงหนองแขนนางน้อย หนองแขนนาง และทุ่งรวงทอง เพื่อเพิ่มความจุเก็บกักรวม ประมาณ 4 ล้าน ลบ.ม