สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ต.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร
ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนอง คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 29 ต.ค. – 1 พ.ย. 66 มวลอากาศเย็น อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 26 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 5,951 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 62,525 ล้าน ลบ.ม. (76%)
ปริมาณน้ำใช้การ 38,355 ล้าน ลบ.ม. (66%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 9 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา แม่มอก และบึงบอระเพ็ด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : หนองหาร และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี
สถานการณ์อุทกภัย
พื้นที่ชุมชน รวม 2 จังหวัด 12 อำเภอ 68 ตำบล 147 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,343 ครัวเรือน ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
แนวทางการบริหารจัดการน้ำ
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 2/2566 ในวันที่ 26 ต.ค. 66 เป็นการประชุมครั้งแรกของ กนช. ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ในคณะรัฐบาลชุดใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ของประเทศให้ดำเนินไปอย่างเป็นระบบ โดยที่ประชุมได้เห็นชอบ ต่อประเด็นต่างๆ ดังนี้
นโยบายการบริหารทรัพยากรน้ำของ กนช. โดยมอบหมาย สทนช. บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดขับเคลื่อนแผนงาน โครงการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
(ร่าง) มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 66/67 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และฝนทิ้งช่วง ปี 67
แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำเสนอ จำนวน 10 ลุ่มน้ำ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้นำแผนดังกล่าว ใช้ร่วมกับมาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 66/67
โครงการปรับปรุงคลองชักน้ำแม่น้ำยมฝั่งขวา จ.สุโขทัย เพื่อช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยในลุ่มน้ำยมช่วง อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองสุโขทัย
หลักเกณฑ์ โครงสร้างและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่อง เร่งสูบระบายน้ำท่วมขังบริเวณหมู่ที่ 1 บ้านคลองป่าไผ่ ตำบลราวต้นจันทร์ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย เพื่อแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน