สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ต.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนน้อย ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง
คาดการณ์: ช่วงวันที่ 24 – 28 ต.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 22 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 6,416 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 62,032 ล้าน ลบ.ม. (75%)
ปริมาณน้ำใช้การ 37,863 ล้าน ลบ.ม. (65%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 11 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม กิ่วคอหมา บึงบอระเพ็ด และแม่มอก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร และอุบลรัตน์ ภาคกลาง : ป่าสักชลสิทธิ์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 3 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา
ภาคตะวันออก : คลองสียัด โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำ
โดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ
3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่
น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรีภาคใต้ จ.สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช ยะลา และนราธิวาส
พื้นที่ชุมชน รวม 5 จังหวัด 19 อำเภอ 81 ตำบล 477 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,911 ครัวเรือน ดังนี้
ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลงพื้นที่เกษตรกรรม รวม 17 จังหวัด 409,312 ไร่ ได้แก่ จ.สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุทัยธานี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด
ประกาศ/ แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ
ปัจจุบัน อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์มีปริมาณน้ำ 950 ล้าน ลบ.ม. (99%) และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำฯ ต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม กรมชลประทาน จะดำเนินการปรับเพิ่มการระบายน้ำ จากอัตรา 8.64 ล้าน ลบ.ม./วัน เป็นอัตรา 12.96 ล้าน ลบ.ม./วัน ในวันที่ 23 ตุลาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2566 โดยทยอยปรับเพิ่มระบายน้ำแบบชั้นบันไดอย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำปาสักเพิ่มสูงขึ้นจากระดับปัจจุบันอีกประมาณ 0.3-0.5 เมตร โดยระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นยังอยู่ในลำน้ำไม่ส่งผลให้แม่น้ำป่าสักเกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง
มาตรการและการช่วยเหลือ
กรุงเทพมหานคร จัดเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการเก็บขยะและวัชพืช เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้น้ำไหลได้สะดวก ไม่มีขยะและวัชพืชกีดขวางทางน้ำไหล ในพื้นที่ คลองบางกะปิ ช่วงหลังวัดอุทัยธาราม เขตห้วยขวาง คลองสี่ประเวศ ช่วงถนนร่มเกล้าซอย 17 เขตมีนบุรี คลองเปรมประชากร ช่วงชุมชนปู่เจ้า เขตดอนเมือง คลองเปรมประชากร ช่วงชุมชนสตรีเหล็ก เขตหลักสี่ คลองลาดพร้าว ช่วงชุมชนหลังกรมวิทยาศาสตร์ เขตจตุจักร
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำชุดปฏิบัติงานช่าง พร้อมรถตักบรรทุกตีนตะขาบ จำนวน 1 คัน และ รถขุดตัก จำนวน 1 คัน สนับสนุน อบต.แม่ลาน้อย โดยทำการเปิดเส้นทาง บ.แม่ละมอง และ บ.ขุนแม่แลบ จากเหตุดินสไลด์ขวางการจราจร ทั้งนี้มีประชาชนที่ได้รับผลประโยชน์รวมทั้งสิ้น จำนวน 115 ครัวเรือน ในพื้นที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน