สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ต.ค. 66
สภาพอากาศวันนี้ : บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศเวียดนามและประเทศลาวตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก
คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 21-23 ต.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 20 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 6,256 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้
ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 61,705 ล้าน ลบ.ม. (75%)
ปริมาณน้ำใช้การ 37,536 ล้าน ลบ.ม. (65%)
เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม แม่มอก และแควน้อยบำรุงแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร น้ำพุง และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล
ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย
เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก: ปราณบุรี
โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1. วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2. ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอ
ความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่+ สถานการณ์อุทกภัย
น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
สถานการณ์อุทกภัย
พื้นที่ชุมชน รวม 4 จังหวัด 19 อำเภอ 84 ตำบล 487 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,256 ครัวเรือน ดังนี้
ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ จ.ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
พื้นที่เกษตรกรรม รวม 18 จังหวัด 471,000 ไร่ ได้แก่ จ.พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาพสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี
นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรีและประธาน กพต. ลงพื้นที่ตรวจติดตามการขับเคลื่อนมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ําท่วมซ้ำซาก และรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหา ณ พนังกั้นแม่น้ำมูโนะ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในการนี้ นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และนายอนันต์ เพ็ชรหนู ผู้อำนวยการ สทนช.ภาค 4 ได้ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูลแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ด้วยโดยรองนายกฯ สมศักดิ์ กล่าวถึงการลงพื้นที่ในครั้งนี้ว่าเพื่อติดตามการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำซาก แม้ว่าจะมีการปรับผนังกั้นน้ำแม่น้ำโกลก รวมถึงการซ่อมประตูระบายน้ำมูโนะ และยังมีโครงการที่ทำอยู่ แต่ยังไม่แล้วเสร็จคือ การปรับปรุงพนังกั้นแม่น้ำโกลกฝั่งซ้าย ระยะทาง 300 เมตร รวมถึงการซ่อมแซมคันคลองฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ประตูน้ำของมูโนะ จำนวน 2 แห่ง ซึ่งคาดว่าอีกไม่นานนี้จะแล้วเสร็จ และหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ขนาด 8 นิ้วบริเวณศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนชาย บ้านมุทิตา ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมเพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ และได้ดำเนินการเข้าปฏิบัติการจัดเก็บวัชพืช เพื่อกำจัดพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงรักษาความสะอาดและลดปัญหาน้ำเน่าเสียบริเวณ คลองขุนศรี ต.สามเมือง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่สัญจรทางน้ำ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคใต้ จ.ตรัง และยะลา