สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 1 ต.ค. 66
มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.น่าน (114) จ.เลย (76) จ.พระนครศรีอยุธยา (42) จ.กาญจนบุรี (31) จ.นครนายก (31) จ.พังงา (15)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 53,527 ล้าน ลบ.ม. (65%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 47,868 ล้าน ลบ.ม. (67%)
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน และชุดบรรเทาสาธารณภัย จำนวน 6 นาย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน รถขุดตักแขนยาว จำนวน 1 คัน สนับสนุนการขุดลอกร่องชักน้ำดิบและจุดสูบน้ำดิบ ระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สะเรียง เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้านความขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างหน่วยงานราชการ และประชาชนในพื้นที่ ณ บ.ท่าข้าม ม.1 ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
สทนช. ประกาศ ฉบับที่ 1/2566 เรื่องเฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม และน้ำล้นตลิ่ง
พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ต.ค. 2566 ดังนี้
1. เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอจอมทอง
แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ดอยเต่า ฮอด ดอยสะเก็ด และกัลยาณิวัฒนา) จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอด และพบพระ) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอโกสัมพีนคร คลองลาน และปางศิลาทอง) จังหวัดลำพูน (อำเภอลี้ และทุ่งหัวช้าง) จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น และลอง) จังหวัดลำปาง (อำเภอเถิน แม่ทะ เสริมงาม และเกาะคา)
2. เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้
แม่น้ำวัง ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก จังหวัดตาก
แม่น้ำยม ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร
ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทานเพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลลงมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำยม และแม่น้ำเจ้าพระยา
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 1 ต.ค. 2566 ดังนี้
1. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ และวิเคราะห์คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ โดยมี พื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวัง ในช่วงวันที่ 3 – 7 ต.ค. 2566 ดังนี้
1.1 เฝ้าระวังน้ำหลากดินถล่ม ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอจอมทอง แม่แจ่ม อมก๋อย แม่วาง แม่แตง ฝาง ดอยเต่า ฮอด ดอยสะเก็ด และกัลยาณิวัฒนา) จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด วังเจ้า อุ้มผาง แม่สอด และพบพระ) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอโกสัมพีนคร คลองลาน และปางศิลาทอง) จังหวัดลำพูน (อำเภอลี้ และทุ่งหัวช้าง) จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น และลอง) จังหวัดลำปาง (อำเภอเถิน แม่ทะ เสริมงาม และเกาะคา)
1.2 เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ดังนี้ แม่น้ำวัง ได้แก่ อำเภอสามเงา และบ้านตาก จังหวัดตาก แม่น้ำยม ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก ศรีนคร ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม และเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย แม่น้ำเจ้าพระยา คาดการณ์จะมีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 1,200 – 1,400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำคลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร
2. ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กองทัพบก ดำเนินการจัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน และชุดสาธารณภัย จำนวน 1 คัน รถขุดตักแขนยาว จำนวน 1 คัน สนับสนุนการขุดลอกร่องชักน้ำดิบและจุดสูบน้ำดิบ ระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาคสาขาแม่สะเรียง เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้านความขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานราชการ และประชาชนในพื้นที่ ณ บ.ท่าข้าม ม.1 ต.บ้านกาศ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน
3. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รายงานสถานการณ์น้ำต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยคณะฯ ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล และแนวทางบูรณาการทำงานภายใต้ ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสียงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อป้องกัน และลดผลกระทบต่อสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด รวมทั้งเร่งคลี่คลายสถานการณ์เพื่อให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ณ บริเวณจอดรถหน่วยงานติดตามสถานการณ์น้ำเคลื่อนที่ สทนช. สถานี M.7 สะพานประชาธปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี