สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ก.ย. 66
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 23 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ภูเก็ต (127 มม.) จ.ชลบุรี (86 มม.) กรุงเทพมหานคร (76 มม.) จ.แพร่ (60 มม.) จ.ศรีสะเกษ (57 มม.) จ.กาญจนบุรี (38 มม.)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 50,741 ล้าน ลบ.ม. (62%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 45,434 ล้าน ลบ.ม. (64%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการส่งน้ำจากแม่น้ำน่าน-บึง ในระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2566 โดยเร่งสูบส่งน้ำจากแม่น้ำน่านเข้าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เพื่อรักษาระบบนิเวศในบึงบอระเพ็ดที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เนื่องจากภาวะฝนทิ้งช่วงซึ่งเกิดจากสถานการณ์เอลนีโญ โดยสามารถเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบึงบอระเพ็ดได้ 5.7 ล้านลูกบาศก์เมตร
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำ
ที่มีความเสี่ยง ในช่วงวันที่ 25 – 30 ก.ย. 66
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม
1.1 ภาคตะวันออก จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง แกลง ปลวกแดง และ
เขาชะเมา) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี มะขาม ท่าใหม่ สอยดาว เขาคิชฌกูฏ แหลมสิงห์ และขลุง) จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ เกาะกูด และเกาะช้าง)1.2 ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.ท่าแซะ และพะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กะเปอร์ ละอุ่น สุขสำราญ และกระบุรี) จ.พังงา (อ.เมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.กระบี่ (อ.เมืองกระบี่ เขาพนม อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา และเกาะลันตา) จ.สุราษฎร์ธานี(อ.เมืองสุราษฎร์ธานี พนม บ้านตาขุน และเกาะพะงัน) จ.สตูล (อ.เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ทุ่งหว้า และมะนัง) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ปะเหลียน นาโยง กันตัง ห้วยยอด หาดสำราญ รัษฎา และวังวิเศษ) จ.พัทลุง (อ.ป่าบอน และตะโหมด) จ.สงขลา (อ.สะเดา) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ช้างกลาง พิปูน ฉวาง
ทุ่งใหญ่ และถ้ำพรรณรา)
พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำแควน้อย
จ.พิษณุโลก แม่น้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา
ลำน้ำก่ำ จ.นครพนม ลำเซบาย จ.ยโสธร แม่น้ำลำปาว อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี
อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ ลำน้ำยัง อ.โพนทอง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
แม่น้ำมูล จ.อุบลราชธานี แม่น้ำตรัง จ.ตรัง แม่น้ำตาปี จ.สุราษฎร์ธานี
เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวงจ.อุดรธานี อ่างเก็บน้ำน้ำพุง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน และหนองหาร จ.สกลนคร อ่างเก็บน้ำลำปาว จ.กาฬสินธุ์ อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง
ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ ซ่อมแซมแนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ
ปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งจัดจราจรทางน้ำเพื่อหน่วงน้ำลดผลกระทบทางด้านท้ายน้ำ และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดสำหรับฤดูแล้งที่กำลังจะถึงนี้ด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 23 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 20/2566 ลงวันที่ 21 กันยายน 2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง ในช่วงวันที่ 25 – 30 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำ พบว่าร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ พบว่ามีพื้นที่เฝ้าระวัง ดังนี้ 1. พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด ในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ตจังหวัดกระบี่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสตูลจังหวัดตรัง จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช 2. พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ลำน้ำก่ำ จังหวัดนครพนม ลำเซบาย จังหวัดยโสธร แม่น้ำลำปาว อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ลำน้ำยัง อำเภอโพนทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี แม่น้ำตรัง จังหวัดตรัง
และแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำน้ำพุง อ่างเก็บน้ำน้ำอูน และหนองหาร อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก
ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการลงพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 10 นิ้ว เพื่อสูบระบายน้ำท่วมขังในบริเวณ วัดแก้วพิจิตร พระอารามหลวง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 20-21 กันยายน 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะเขือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ภายใต้โครงการการเสริมสร้างขีดความสามารถองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำ ครั้งที่ 3 ณ ตำบลหนองมะเขือ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น โดยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ทักษะการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการติดตามสถานการณ์น้ำเบื้องต้น ความรู้พื้นฐานด้านภูมิสารสนเทศ การจัดทำผังน้ำ บัญชีน้ำ สมดุลน้ำ แนวทางฟื้นฟูพัฒนาแหล่งน้ำ ตัวอย่างความสำเร็จการจัดการน้ำชุมชนด้วยตนเอง การสมัคร
เป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ การวางแผนจัดการน้ำ และการเสนอโครงการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชน ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการของบประมาณ และช่องทางติดตามการดำเนินโครงการที่ชุมชนเข้าถึงได้ โดยมีการแบ่งกลุ่มปฏิบัติ แลกเปลี่ยนแนวคิด และวางแผนร่วมกัน ด้วยข้อมูลจริงของชุมชน การสร้างต้นแบบการจัดการน้ำชุมชนร่วมกันในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่แข็งแรง ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน
ในพื้นที่นำร่องทั้ง 4 จังหวัด กระตุ้นการตระหนักรู้บทบาทหน้าที่สำคัญในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนร่วมกับภาคส่วน
ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม เกิดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายร่วม