สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ก.ย. 66
ภาคกลางตอนล่าง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ราชบุรี (110) จ.ระยอง (97) จ.ลำปาง (88) จ.ปทุมธานี (79) จ.สตูล (60) และ จ.อุบลราชธานี (47)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 50,059 ล้าน ลบ.ม. (63%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 44,781 ล้าน ลบ.ม. (63%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินงานโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำ ต.ยางน้ำกลัดใต้ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง และป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ ลดความเสียหายจากภัยพิบัติในอนาคต ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลประโยชน์ 650 ไร่ 90 ครัวเรือน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศฉบับที่ 19/2566เฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 22-26 ก.ย. 66
ด้วยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่ามีฝนตกหนักและตกสะสมในภาคเหนือ และภาคกลาง คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำ จ.นครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 900–1,200 ลบ.ม. ต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 90-120 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในเกณฑ์ 990– 1,320 ลบ.ม. ต่อวินาที ดังนั้น จึงมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 700–1,000 ลบ.ม. ต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60 – 0.80 เมตร
ทั้งนี้ กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า
2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
3. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ ประตูระบายน้ำ ระบบชลประทาน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สำหรับเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ขอให้บริหารจัดการน้ำโดยใช้ระบบชลประทานในการนำเข้าคลองต่าง ๆ ทั้งด้านฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพคลองชลประทาน ในแต่ละช่วงเวลาที่สามารถรองรับได้ เพื่อลดปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 กันยายน 2566 ดังนี้
- ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 19/2566 ลงวันที่ 20 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงวันที่ 22 – 26 กันยายน 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่ามีฝนตกหนักและตกสะสมในภาคเหนือ และภาคกลาง คาดการณ์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในเกณฑ์ 900 – 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังและลำน้ำสาขาไหลมารวมกับแม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณ 90 – 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์ 990 – 1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจึงมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น อยู่ในเกณฑ์ 700 – 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอก
คันกั้นน้ำ คลองโผงเผง จังหวัดอ่างทอง คลองบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.60 – 0.80 เมตร - ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวง 5 หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและป่าไม้ 6 จังหวัด ได้แก่ จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.กาญจนบุรี จ.นครราชสีมา จ.เพชรบุรี และจ.ประจวบคีรีขันธ์ ส่งผลทำให้เติมน้ำต้นทุนอ่างเก็บน้ำ 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ่างเก็บน้ำปราณบุรี อ่างเก็บน้ำห้วยไทรงาม และอ่างเก็บน้ำยางชุม
- สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 21 – 22 ก.ย. 66 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 23 – 26 ก.ย. 66
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในภาคใต้ - การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2566 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อติดตามการบริหารจัดการน้ำ และติดตามการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และ 3 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ณ เขื่อนทดน้ำผาจุก อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี และเขื่อนสิริกิติ์