อุตฯ คุยฟุ้งโครงการโอปอยซีทะลุเป้า
กระทรวงอุตฯ โชว์ผลสำเร็จโครงการโอปอยซี ปี’66 ปั้น 2,547 ฐานราก สู่ผู้ประกอบการเกษตรอุตฯ อัจฉริยะ
กระทรวงอุตสาหกรรม ปลื้มความสำเร็จโครงการโอปอยซี หรือ OPOAI-C ปี 2566 ชุมชนเกษตรกรตื่นตัว เข้าร่วมโครงการทะลุเป้าหมาย สร้างสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน หนุนสร้างซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทยสู่ตลาดโลก เพิ่มมูลค่าจากวัตถุดิบและอัตลักษณ์ของชุมชน ด้วยกลไกลฝึกอบรม การพัฒนา R&D การสร้างคุณค่าผลผลิตทางการเกษตร โดยมีวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วม 2,547 ราย เกิดสินค้าใหม่ 312 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท
นาย ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายมุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมใน 4 มิติ ประกอบด้วย 1. ความสำเร็จทางธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจมุ่งให้ผู้ประกอบการมีกำไรในการดำเนินธุรกิจ 2. ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวมส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่าง สถานประกอบการ ชุมชน และสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรและมีความสุข 3. ความลงตัวกับกติกาสากล ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อโอกาสทางธุรกิจมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ทั้งการลดโลกร้อน การลดใช้น้ำ และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้มากขึ้น และ 4. การกระจายรายได้สู่ชุมชน ที่ตั้ง ด้วยการกระจายรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม
ภาคการเกษตรนับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมรากฐานของประเทศ เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงดำเนินการการขับเคลื่อนการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community : OPOAI-C)” ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยมีชุมชนเข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ จำนวน 2,547 ราย และพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์
ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค 312 ผลิตภัณฑ์ ทำให้วิสาหกิจสามารถกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าสูง ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งของการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของไทยที่มีส่วนสำคัญ
ต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน สร้างรายได้ให้ภาคเกษตรที่เป็นฐานรากของเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งขึ้น
“ประชาชนส่วนใหญ่ของไทยกว่า 45% ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงมีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก แต่ผลผลิตส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่กับฤดูกาล ทำให้เกิดสินค้าล้นตลาด ราคาตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่ำ กระทรวงอุตสาหกรรมเร่งจึงขับเคลื่อนโครงการนี้ โดยมุ่งเป้าให้เกษตรกรกลายเป็นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ด้วยการเข้าไปส่งเสริมองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่มีมูลค่าสูง ปลอดภัยและ
ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับสินค้าเกษตรให้เป็นกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนการเกษตรในลักษณะของฝากของที่ระลึกที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและการท่องเที่ยวมากขึ้น” ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว
ทั้งนี้ ได้มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์และบริการ ให้สอดรับกับความต้องการของตลาดอย่างมีมาตรฐาน โดยการนำงานวิจัยและพัฒนามาสร้างมูลค่าเพิ่ม มีการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่นให้สามารถเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และช่วยพัฒนาเกษตรกรรายอื่น ทั้งวิสาหกิจชุมชน กลุ่มชุมชนการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ซึ่งสามารถเชื่อมโยงภาคการผลิต การท่องเที่ยวของจังหวัด มีการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์ หรือ E-Commerce มาใช้ประโยชน์ในการสร้างรายได้ สร้างคุณค่าของสินค้าและบริการเพื่อทำการตลาดในวงกว้างมากยิ่งขึ้นทั้งตลอดในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับการในปีงบประมาณ 2566 ดำเนินการครอบคลุมทั้งจังหวัด 76 จังหวัด สามารถฝึกอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 2,547 ราย ส่งผลให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการถึง 312 ผลิตภัณฑ์ และยังมีการฝึกอบรมเชิงลึกเพื่อพัฒนาและยกระดับเกษตรกรสู่การประกอบกิจการธุรกิจเกษตร ได้ถึง 410 ราย โดยพบว่าเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนามีรายได้เพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 13.97% และคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้น 50.3672 ล้านบาท และยังส่งผลให้เกิดการลงทุนเพิ่มไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ ยังสร้างอาชีพให้กับชุมชนได้ไม่น้อยกว่า 3,000 ราย ก่อให้เกิดสินค้าใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น อาทิ ทอฟฟี่ลำไย จ.เชียงใหม่ ไวน์อ้อย จ.ชัยภูมิ ไซรับอินทผลัม จ.ร้อยเอ็ด น้ำหอมแห้งจากน้ำมันไขชะมด จ.เพชรบุรี สเปรย์มะรุมระงับกลิ่นกาย จ.สิงห์บุรี ข้าวเกรียบกล้วยน้ำว้า จ.กาญจนบุรี เครื่องจมูกข้าวพร้อมชง จ.ปราจีนบุรี ไอศกรีมกระท้อน จ.สระแก้ว กระเป๋าสานทางปาล์มบุผ้าปาเต๊ะ จ.กระบี่ เครื่องแกงส้ม จ.พัทลุง เป็นต้น