สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 ก.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.อุตรดิตถ์ (182) จ.อุบลราชธานี (177) จ.ลพบุรี (95) จ.ตราด (81) จ.ตรัง (77) จ.กาญจนบุรี (54)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 45,944 ล้าน ลบ.ม. (56%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 41,170 ล้าน ลบ.ม. (58%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง
1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง แพร่ น่าน พะยา อุตรดิตถ์ พิษณุโลก อุทัยธานี และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.บึงกาฬ ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง และพังงา
+กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินก่อสร้างโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในพื้นที่ 1.) บ.โนนศรีสวัสดิ์ ม.4 ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 2.) บ.โคกสำราญ ม.2
ต.สามัคคี อ.ร่องคำ จ.กาฬสินธุ์ 3.) บ.พุทธรักษา ม.4 ต.เขาพระนอน
อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ 4.) บ.สว่าง ม.4 ต.ห้วยเตย อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น
5.) บ.โคกสูง ม.3 ต.กระนวน อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น 6.) บ.วังทอง ม.7 ต.ห้วยเตย อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม 7.) บ.ขามป้อม ม.1 ต.นาข่า อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น
+กอนช. ติดตามการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
กรมชลประทาน (9 ก.ย. 66) ลงพื้นที่เมืองบัวแดง นำเสนอแผนหลัก
การพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่ เพื่อติดตามโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่บึงบอระเพ็ด
บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ
มีความหลากหลายทางด้านชีวภาพทั้งพืชและสัตว์นานาชนิด ซึ่งที่ผ่านมา
ได้ประสบปัญหาด้านการบุกรุกพื้นที่ ปัญหาการตื้นเขินของบึงจากการสะสมของตะกอนดินและปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม จึงได้วางแผนหลักการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด ดังนี้
แผนที่ 1. การบริหารจัดการ / การเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน
แผนที่ 2. การแก้ไขปัญหาภัยแล้งและสร้างความมั่นคงของน้ำ
แผนที่ 3. คุณภาพน้ำ ตะกอน และรักษาระบบนิเวศ
แผนที่ 4. การจัดการน้ำท่วมและบรรเทาอุทกภัย
ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 5 โครงการ และโครงการที่อยู่ระหว่าง
การดำเนินการ อาทิ
1) โครงการขุดลอกตะกอนดิน บึงบอระเพ็ด
2) โครงการขุดคลองดักตะกอน ตามแนวขอบบึงบอระเพ็ด
3) โครงการขุดบึงบอระเพ็ด Deep Pool
หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำ
ได้ประมาณ 21 ล้าน ลบ.ม. ทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่ในการกักเก็บน้ำของแก้มลิง เพื่อสำรองไว้ใช้ได้ในอนาคตได้อีกด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 กันยายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามความก้าวหน้าโครงการแผนพัฒนากว๊านพะเยาณ ลานอนุเสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ซึ่งกรมชลประทานได้ร่วมพัฒนากว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำและบริหารจัดการน้ำ โดยขุดลอกตะกอนดินกว๊านพะเยาเพิ่มประสิทธิภาพเก็บกักน้ำในพื้นที่ตอนบน เพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำและระบบกระจายน้ำ สามารถเก็บกักน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรรอบกว๊านพะเยาจากเดิม 33.84 ล้าน ลบ.ม. เป็น 42.84 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์รวม 31,020 ไร่ นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนงานพัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู กว๊านพะเยา รวม 5 ด้านด้วยกัน ทั้งด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ เพื่อให้
มีความครอบคลุมในทุกมิติ
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศจีนตอนใต้ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและ
พื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ไว้ด้วย
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA จัดงานสัมมนา “Empowering Policy Makers with Spatial intelligence” เปิดตัวนวัตกรรม AIP ซึ่งเป็นเครื่องมือใหม่ที่จะมาช่วยสนับสนุนผู้กำหนดนโยบายในทุกระดับเพื่อนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์และประมวลผลสำหรับการแก้ปัญหาในพื้นที่ โดยงานจัดขึ้น ณ CDC Crystal Grand Ballroom กรุงเทพฯ โดยนวัตกรรม AIP พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา THEOS-2 โดยมีพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ คือ EEC และจังหวัดน่าน ซึ่ง AIP ไม่ได้เป็นเพียงระบบแสดงข้อมูลแผนที่ แต่เป็น Platform ในการประยุกต์ใช้ข้อมูลดาวเทียม ข้อมูลภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสนับสนุนผู้กำหนดนโยบาย และหน่วยปฏิบัติในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ในด้านต่างๆ
ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการเกษตร ด้านน้ำ ด้านภัยพิบัติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการเมือง