สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.ย. 66
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 4 ก.ย. 66 เวลา 7.00 น.
ฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ระนอง (139) จ.สิงห์บุรี (94) จ.กาญจนบุรี (82) จ.สกลนคร (75) จ.ตาก (74) และ จ.ตราด (73)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,215 ล้าน ลบ.ม. (54%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,848 ล้าน ลบ.ม. (56%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สทนช. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรี โดยกรมชลประทานดำเนินการปรับปรุงคลองส่งน้ำ เพิ่มช่องทางระบายน้ำให้ไหลลงสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว ดักน้ำโดยการผันน้ำไม่ให้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ชุมชน ก่อสร้างประตูระบายน้ำเพิ่มเติมตามแนวกั้นน้ำเค็ม รวมถึงดำเนินการเพิ่มศักยภาพคลองระบายน้ำ D.9 และคลองสายใหญ่ฝั่งขวา 3 ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี และปรับปรุงแหล่งกักเก็บน้ำบริเวณต้นน้ำให้สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มมากขึ้น และสามารถรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่ตัวเมืองเพชรบุรีในฤดูน้ำหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ประกาศ ฉบับที่ 17/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66ด้วย กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ในช่วงวันที่ 5-10 ก.ย. 66 ดังนี้
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในบริเวณพื้นที่ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย) จ.แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองแม่ฮ่องสอน)จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จ.แพร่ (อ.ร้องกวาง) จ.น่าน (อ.ปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) จ.พิษณุโลก (อ.นครไทย และเนินมะปราง) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เขาค้อ และเมืองเพชรบูรณ์) จ.อุตรดิตถ์ (อ.น้ำปาด) จ.กำแพงเพชร (อ.คลองลาน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.ภูเรือ) จ.ชัยภูมิ (อ.หนองบัวแดง) จ.มุกดาหาร (อ.หว้านใหญ่ และเมืองมุกดาหาร) จ.นครพนม (อ.ธาตุพนม) จ.นครราชสีมา (อ.ปากช่อง) ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา (อ.เมืองฉะเชิงเทรา บ้านโพธิ์ บางน้ำเปรี้ยว และบางปะกง) จ.นครนายก (อ.ปากพลี และองครักษ์) จ.ปราจีนบุรี (อ.ประจันตคามและบ้านสร้าง) จ.จันทบุรี (อ.ขลุง และแหลมสิงห์) จ.ตราด (อ.คลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง แหลมงอบ และบ่อไร่) ภาคกลาง จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่) จ.กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ) ภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง และพิปูน) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต และถลาง)
พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา จ.น่าน
กอนช. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือ ดังนี้
ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มม. ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง
เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 4 กันยายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 17/2566 ลงวันที่ 3 กันยายน 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 5 – 10 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน)จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง อุ้มผาง แม่สอด แม่ระมาด และพบพระ) จังหวัดแพร่ (อำเภอร้องกวาง) จังหวัดน่าน(อำเภอปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง ทุ่งช้าง ท่าวังผา เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทยและเนินมะปราง) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ และเมืองเพชรบูรณ์) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอคลองลาน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอภูเรือ) จังหวัดชัยภูมิ(อำเภอหนองบัวแดง) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอเมืองมุกดาหาร) จังหวัดนครพนม (อำเภอธาตุพนม) จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอปากช่อง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา บ้านโพธิ์ บางน้ำเปรี้ยว และบางปะกง) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี และองครักษ์) จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม และบ้านสร้าง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง และแหลมสิงห์) จังหวัดตราด (อำเภอคลองใหญ่ เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง แหลมงอบ และบ่อไร่) ภาคกลาง จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ) ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
(อำเภอฉวาง และพิปูน) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และถลาง)
สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 3 – 5 ก.ย. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 6 – 9 ก.ย. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการสำรวจและตรวจสอบการชำรุดเสียหายของอุปกรณ์และคันกั้นน้ำ โครงการแก้มลิงกุดชีเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านท่าศาลา ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและเร่งปรับปรุง ซ่อมแซมให้พร้อมรับมือฤดูฝน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ประชุมติดตามสถานการณ์น้ำและความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือเครื่องจักรตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน 2566 รวมทั้ง 3 มาตรการรับมือเอลนีโญเพิ่มเติม
ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ร่วมกับ นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพลรองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ผู้แทนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ และกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ณ ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ หลังจากนั้น ลงพื้นที่สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง และโครงการหน่วงน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์