สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 ส.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ (110) จ.พังงา (55) จ.ตราด (55) จ.แพร่ (48) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (9)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,880 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,473 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่บริเวณปากคลองผันน้ำเชื่อมอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำและป้องกันปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ EEC โดยเร่งผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ ไปเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างฯ หนองปลาไหล ปัจจุบัน (28 ส.ค.66) มีการผันน้ำไปแล้ว 5.60 ล้าน ลบ.ม. เมื่อรวมกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ ทำให้มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 97.30 ล้าน ลบ.ม. หรือ 59% ของความจุอ่างฯ
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยัง บริเวณอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ แม่น้ำสงคราม บริเวณอ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ถึง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
สทนช. ขับเคลื่อนโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินทั้งประเทศ
นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมพิจารณาเลือกพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำแบบอัตโนมัติ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 66
ด้วยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) (GISTDA) ดำเนินโครงการการวิเคราะห์คาดการณ์ปริมาณน้ำจากดาวเทียม THEOS-2 และกลุ่มดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง โดยนำข้อมูลจากดาวเทียมมาวิเคราะห์ ติดตาม ตรวจสอบ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลในลักษณะเชิงพื้นที่ (geo-spatial) เพื่อสนับสนุนภารกิจของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินทั้งประเทศ โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาเลือกพื้นที่สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อใช้เป็นตัวแทนในพื้นที่ลุ่มน้ำสำหรับตรวจสอบกับปริมาตรน้ำที่วิเคราะห์ได้จากข้อมูลดาวเทียม เพื่อให้สามารถจัดทำระบบฐานข้อมูลให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ สทนช. ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือเพื่อให้การดำเนินงานโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ํา ประจําวันที่ 29 สิงหาคม 2566 ดังนี้
1. ประกาศกองอํานวยการน้ําแห่งชาติ
ตามประกาศกองอํานวยการน้ําแห่งชาติฉบับที่16/2566 ลงวันที่ 26สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ําท่วมฉบั พลัน น้ําป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทําให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวัง เสี่ยงน้ําท่วมฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ําท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อําเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย) จังหวัดกําแพงเพชร (อําเภอเมืองกําแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงาม พรานกระต่าย และลานกระบือ) จังหวัดตาก (อําเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง) จังหวัดพิษณุโลก (อําเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกํา) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อําเภอน้ําปาด) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อําเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง) จังหวัดชัยภูมิ (อําเภอคอนสาร และบ้านแท่น) จังหวัดขอนแก่น (อําเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคํา และหนองเรือ) จังหวัดสกลนคร (อําเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอํานวย) จังหวัดมหาสารคาม (อําเภอกันทรวิชัย) จังหวัดหนองบัวลําภู (อําเภอเมืองหนองบัวลําภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อําเภอยางตลาด) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อําเภอแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อําเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์) จังหวัดตราด (อําเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ) ภาคใต้ จังหวัดชุมพร (อําเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อําเภอเมืองระนอง และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อําเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่ว ป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อําเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
2. ผลการดําเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดําเนินการปฏิบัติการฝนหลวง 2 หน่วยปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 5 จังหวัด (จ.สุรินทร์ จ.มหาสารคาม จ.ร้อยเอ็ด จ.นครสวรรค์ จ.เพชรบูรณ์) และเติมน้ําต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บ น้ํา 1 แห่ง (เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ทําให้มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณพื้นที่การเกษตร จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.เพชรบูรณ์ และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.สุรินทร์ บินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ จ.ร้อยเอ็ด ทําให้มีฝนตกเล็กน้อยบริเวณพ้ืนท่ี จ.สุรินทร์ (ท่าตูม) จ.มหาสารคาม (เมืองมหาสารคาม บรบือ โกสุมพิสัย แกดํา วาปีปทุม) และจ.ร้อยเอ็ด (จตุรพักตรพิมาน)
3. การบริหารจัดการน้ํา การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ํา จัดการฝึกอบรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้รู้ประจําสถานีเตือนภัย (Early -Warning) บริเวรพื้นที่ลาดชันและพื้นที่ราบเชิงเขา เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้รู้ในการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าฯ สร้างกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการเฝ้าระวังภัยน้ําหลาก – ดินถล่ม และประชาสัมพันธ์ ซักซ้อมความเข้าใจ ให้ประชาชนในพื้นท่ีได้อย่างมีประสิทธิภาพ