สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 28 ส.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (86) จ.ยะลา (70) จ.ตราด (66) จ.แพร่ (48) จ.หนองบัวลำภู (35) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (10)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,883 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,472 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 29 ส.ค.-3 ก.ย. 66 บริเวณ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน กำแพงเพชร ตาก พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และกาฬสินธุ์ ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ชุมพร ระนอง พังงา และภูเก็ต และเฝ้าพื้นที่เสี่ยงระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ แม่น้ำยัง บริเวณอ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และ แม่น้ำสงคราม บริเวณอ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ถึง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม
กอนช. ติดตามหน่วยงานวางแผนการบริหารจัดการน้ำ รับมือเอลนีโญอย่างต่อเนื่อง
ด้วยสถานการณ์เอลนีโญยังรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กอนช. ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานร่วมกัน วางแผน และเตรียมพร้อมอย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่ที่เสี่ยงประสบภัยน้ำท่วม หรือขาดแคลนน้ำจากปริมาณฝนน้อย เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด พร้อมทั้งได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ให้รับทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการน้ำ 2 ปี ตามนโยบาย กอนช.ปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ (วันที่ 26 ส.ค. 66) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 41,954 ล้าน ลบ.ม. หรือ 55% ของความจุอ่างฯ เป็นปริมาณน้ำใช้การได้18,014 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้อย และจากการคาดการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้งปี 2566/67 ทั้งประเทศ คาดว่า ณ วันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 22,825 ล้าน ลบ.ม. ทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนในช่วงต้นฤดูแล้งมีอยู่อย่างจำกัด โดยเฉพาะใน 4 เขื่อนหลัก ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งหรือข้าวนาปรัง ปี 2566/67 ได้ กอนช. จึงขอความร่วมมือเกษตรกรเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง
ส่วนการเพาะปลูกข้าวนาปีในปี 2566 นี้ ขอความร่วมมือเกษตรกรในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ได้ทำการเพาะปลูกข้าวนาปีรอบแรกและเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ ให้งดเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ โดยกรมชลประทานได้ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ตลอดจนขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้ปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้งปี 2566/67 ที่กำลังจะมาถึงนี้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 16/2566 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 29 สิงหาคม – 3 กันยายน 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอกัลยาณิวัฒนา จอมทอง และอมก๋อย) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ขุนยวม และสบเมย) จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอเมืองกำแพงเพชร โกสัมพีนคร ขาณุวรลักษบุรี คลองลาน ไทรงามพรานกระต่าย และลานกระบือ) จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก ท่าสองยาง พบพระ แม่ระมาด แม่สอด วังเจ้า และอุ้มผาง) จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง และบางระกำ) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด)ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว ผาขาว ภูเรือ และวังสะพุง) จังหวัชัยภูมิ (อำเภอคอนสารและบ้านแท่น) จังหวัดขอนแก่น (อำเภอชุมแพ ภูเวียง เวียงเก่า สีชมพู หนองนาคำ และหนองเรือ) จังหวัดสกลนคร(อำเภอบ้านม่วง วานรนิวาส และอากาศอำนวย) จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดหนองบัวลำภู(อำเภอเมืองหนองบัวลำภู นากลาง นาวัง และศรีบุญเรือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอยางตลาด) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ นายายอาม มะขาม และแหลมสิงห์)จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ) ภาคใต้ จังหวัดชุมพร(อำเภอท่าแซะ และพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืช และขุดลอกตะกอนดิน บริเวณคลองสายใหญ่บางป่า จังหวัดราชบุรี และปากคลองเฉียงพง จังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาร่องน้ำตื้นเขิน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2566 กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ประสานงานผู้นำชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนกรวย โรงเรียนวัดสนามชัย โรงเรียนอนุบาลดำเนินสะดวกโรงเรียนสายธรรมจันทร์ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี เพื่อบูรณาการร่วมมือในการจัดโครงการวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลอง แห่งชาติ ประจำปี 2566