สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เลย (88) จ.ตราด (58) จ.เพชรบูรณ์ (48) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) จ.นครศรีธรรมราช (39) จ.สุพรรณบุรี (32)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 44,002 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,297 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมชลประทานกรมชลประทาน เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลาก ตามที่ กอนช. ประกาศแจ้งเตือนเรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 20 – 25 ส.ค.66 ทั้งนี้ ได้กำชับไปยังโครงการชลประทานทั่วประเทศ เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด พร้อมบริหารจัดการน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด พิจารณาปรับการระบายให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ รวมถึงจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือให้เข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ตลอดจนปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 ตามที่ กอนช. กำหนดอย่างเคร่งครัด
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร อุดรธานี อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล ตรัง และสุราษฎร์ธานีสทนช. เตรียมพร้อมรับมือฝนพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน จ.พิจิตร ตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 66 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่
บึงสีไฟ จ.พิจิตร เพื่อติดตามการพัฒนาและเก็บกักน้ำและติดตามการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และ 3 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งบึงสีไฟเป็นแหล่งน้ำสำคัญในผังน้ำลุ่มน้ำน่าน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ 1 ใน 8 ของพื้นที่ชุ่มน้ำภาคเหนือที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ มีพื้นที่ประมาณ 5,390 ไร่ และมีสภาพตื้นเขินบางส่วน โดยปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูบึงสีไฟ ให้เป็นพื้นที่ชะลอและรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝน ให้สามารถ กักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ในช่วงฤดูแล้ง พร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติผ่านคณะอนุกรรมการบริหาร พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติและแม่น้ำลำคลอง ซึ่งอยู่ภายใต้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ปัจจุบันปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศปัจจุบัน น้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 18 และในพื้นที่ภาคเหนือน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 27 สำหรับบึงสีไฟ มีปริมาณน้ำรวมอยู่ที่ 11.4 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 90.19 ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกว่า ปี 65 จำนวน 1.23 ล้าน ลบ.ม. จากการตรวจสอบไม่พบพื้นที่ เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภค และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร ทั้งนี้กรมชลประทานมีแผนงานโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำบึงสีไฟเพื่อการเกษตรประมาณ 7,500 ไร่ โดยพื้นที่ จ.พิจิตร ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่น้ำท่วม อยู่ในรหัสโซนพื้นที่ทางน้ำหลาก และบางส่วนอยู่ในรหัสโซนพื้นที่น้ำนอง ซึ่งเสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร ป้องกันการพัฒนา ที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2566 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 20 – 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย
ขุนตาล และแม่สรวย) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง และแม่อาย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น และเวียงสา) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า) จังหวัดนครพนม (อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านดุง) จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญและหัวตะพาน) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน) ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงาคุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล และละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม และบ้านตาขุน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองเปรมประชากร ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อรับมือสถานการณ์น้ำหลากในช่วงฤดูฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการติดตั้งตะแกรงและเครื่องคราดขยะ พร้อมปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำประตูระบายน้ำเปรมใต้รังสิต มีการขุดลอกคลองเปรมประชากร ตั้งแต่ช่วงคลองรังสิตฯ จนถึงสถานีสูบน้ำเปรมเหนือบางปะอิน โดยจะดำเนินการร่วมกับ
12 มาตรการรองรับฤดูฝนที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติกำหนด และ 5 มาตรการในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนของกรมชลประทาน เพื่อบรรเทาปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้ได้มากที่สุด
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณน้ำ ณ โรงแรม เดอะ การ์เดน 304 จังหวัดปราจีนบุรี ตามมาตรการที่ 10 ใน 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครื่อข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องข้อมูลสถานการณ์น้ำ ช่องทางและการเชื่อมโยงการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐ และการแนะนำการใช้งานแปพลิเคชันติดตามและแจ้งข้อมูลสถานการณ์น้ำ National Thai Water (NTW)