สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 18 สค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.เลย (89) จ.เชียงราย (58) จ.ชัยนาท (53) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (48) จ.ระนอง (24) จ.ตราด (14)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,963 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,259 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาเถร ร่วมตรวจสอบและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค พื้นที่บ้านบางเมฆ หมู่ 12 ต.บางตาเถร อ.สองพี่น้อง จ. สุพรรณบุรี ในการนี้
ได้ส่งเครื่องจักรเข้าดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล และติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค อย่างถาวรต่อไป
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรังกอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 15/2566 ในช่วงวันที่ 20-25 ส.ค. 66กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามสภาพอากาศพบว่าประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ในช่วงวันที่ 20 – 25 ส.ค. 66 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขัง ไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.เมืองเชียงราย ขุนตาล และแม่สรวย)
จ.เชียงใหม่ (อ.ฝาง และแม่อาย) จ.น่าน (อ.นาหมื่น และเวียงสา) จ.เพชรบูรณ์ (อ.เขาค้อ)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย เฝ้าไร่
โพนพิสัย และรัตนวาปี) จ.บึงกาฬ (อ.บุ่งคล้า) จ.นครพนม (อ. ท่าอุเทน
และศรีสงคราม) จ.สกลนคร (อ.พรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จ.อุดรธานี (อ.บ้านดุง) จ.อำนาจเจริญ (อ.เมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน)
จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์) จ.ศรีสะเกษ (อ.เมืองศรีสะเกษ) จ.อุบลราชธานี (อ.เขื่องใน)
ภาคตะวันออก จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง)
จ.ตราด (อ.เมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.พังงา (อ.เมืองพังงาคุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.สตูล (อ.เมืองสตูล และละงู) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จ.สุราษฎร์ธานี (อ.พนม และบ้านตาขุน)ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมือง ที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 15/2566 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ในช่วงวันที่ 20 – 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย
ขุนตาล และแม่สรวย) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง และแม่อาย) จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น และเวียงสา) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า) จังหวัดนครพนม (อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านดุง) จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญและหัวตะพาน) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน) ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงาคุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล และละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม และบ้านตาขุน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
2.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นำเครื่องจักรกลสาธารณภัย พร้อมเจ้าหน้าที่เข้าให้การสนับสนุนองค์การบริหารส่วนตำบลทัพรั้ง เพื่อดำเนินการสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมากักเก็บไว้ในสระน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา บ้านกุดไผ่ หมู่ที่ 8 ต.ทัพรั้ง อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา ระยะทาง 800 เมตร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชน มีประชาชนได้รับประโยชน์ 152 ครัวเรือน 565 คน
2.2 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบบำรุงรักษา เครื่องสูบน้ำของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพสูงสุดและพร้อมใช้งานกับฤดูฝน โดยดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้วเครื่องใช้งานได้ตามปกติ
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วันที่ 17 สิงหาคม 2566 นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่บึงสีไฟจ.พิจิตร เพื่อติดตามการพัฒนาและเก็บกักน้ำและติดตามการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566และ 3 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 เพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ซึ่งจากการตรวจสอบไม่พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านอุปโภคบริโภค และพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร โดยปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูบึงสีไฟ ให้เป็นพื้นที่ชะลอและรองรับน้ำหลากในช่วงฤดูฝน ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้ในช่วงฤดูแล้ง พร้อมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติโดยใช้กลไกคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ