สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 16 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (244) จ.พังงา (214) จ.บึงกาฬ (89) กรุงเทพมหานคร (57) จ.ระยอง (49) และ จ.กาญจนบุรี (40)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,528 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,116 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมชลประทาน ดำเนินการซ่อมแซมทำนบดิน พร้อมผิวถนนรอบอ่างเก็บน้ำหนองกองแก้ว ต.ศรีบุญเรือง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น เนื่องจากได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ในปี 2563 ทำให้ผิวจราจรเสียหาย ทำนบดินขาดหลายช่วง ทั้งนี้ ได้เร่งดำเนินการโครงการปรับปรุงทำนบดินรวมถึงผิวจราจรหลังทำนบดินที่มีปัญหาในการใช้เส้นทาง ให้รองรับสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาพิจารณาโครงการเบื้องต้น
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง
สทนช. ภาค 3 ติดตามความก้าวหน้าการสนับสนุนช่วยเหลือภัยแล้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมาอ.โนนไทย จ.นครราชสีมา โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 5 นครราชสีมา ได้สนับสนุนการสูบน้ำในพื้นที่ ได้แก่ 1) บ้านดอนทะยิง ต.โนนไทย ดำเนินการสูบน้ำจากแหล่งน้ำสำรองไปแหล่งน้ำสำหรับผลิตประปา ปริมาณการสูบน้ำรวม 40,000 ลบ.ม. 2) บ้านดอนมะยม ต.บ้านวัง สนับสนุนการสูบน้ำไปไวัในแหล่งน้ำสำรอง ปริมาณการสูบน้ำรวม 20,000 ลบ.ม. 3) บ้านดอนใหม่ ต.บ้านวัง สนับสนุนการสูบน้ำไปไวัในแหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปา ปริมาณการสูบน้ำรวม 80,000 ลบ.ม. สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาว องค์การบริหารส่วนตำบลโนนไทย อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา ต้องการพัฒนาลำห้วยสันเที๊ยะให้มีประสิทธิภาพในการกักเก็บน้ำมากขึ้น ในขณะที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านวัง ได้ขอสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงหนองน้ำใส พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต.บ้านวังผ่านสำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 5 นครราชสีมา
อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา โดยศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 นครราชสีมา สนับสนุนการสูบน้ำเพื่อนำมากักเก็บไว้ในสระน้ำเพื่อผลิตน้ำประปา ในพื้นที่บ้านกุดไผ่ ต.ทัพรั้ง อ.พระทองคำ จ.นครราชสีมา ปริมาณน้ำที่สูบได้ 17,550 ลบ.ม. และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาว โดยองค์การบริหารส่วนตำบลทัพรั้งจะทำการขอสนับสนุนโครงการระบบประปาขนาดใหญ่และการสำรวจหาพื้นที่เพื่อเจาะน้ำบาดาลต่อไปทั้งนี้ สทนช. ภาค 3 จะมีการติดตามการดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งบรรเทาและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้ประชาชนโดยเร็วที่สุด
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2566 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กองทัพบก ร่วมทำการสร้างฝายชะลอน้ำบริเวณลำห้วยเดื่อ ต.แม่เงิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อกักเก็บน้ำทำให้ป่าชุ่มน้ำลดปัญหาไฟป่าหมอกควันในอนาคต และทำให้มีน้ำใช้ในการเกษตรตลอดทั้งปี
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จัดการประชุมสัมมนาเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 3 ณ สำนักงานเทศบาลตำบลม่วงน้อย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอด องค์ความรู้การเติมน้ำใต้ดินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การออกแบบและก่อสร้างระบบเติมน้ำใต้ดิน รวมถึงการดูแล บำรุงรักษาระบบเติมน้ำใต้ดิน เพื่อให้ระบบเติมน้ำใต้ดินที่ก่อสร้างขึ้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และมีอายุการใช้งานยาวนาน อันจะส่งผลให้ภารกิจการฟื้นฟูแหล่งน้ำบาดาลที่วิกฤตจนเสียสมดุลในพื้นที่ เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป