สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.นครพนม (48) จ.ตรัง (40) จ.นครสวรรค์ (35) จ.ตราด (26) กรุงเทพมหานคร (24) จ.กาญจนบุรี (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,440 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,713 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์ เปลี่ยนท่อที่เกิดจากการชำรุด ตรวจเช็ค ซ่อม เปลี่ยนอุปกรณ์ระบบ ตู้คอนโทรล บำรุงรักษาและปรับปรุงคุณภาพน้ำในระบบประปาบาดาลให้สามารถอยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ พร้อมแนะนะวิธีการใช้งานระบบประปาบาดาล ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ณ บ้านหนองโคกสามัคคี หมู่ที่ 18 ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ฉบับที่ 13/2566 ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 โดย กอนช.ได้คาดการณ์ระดับน้ำจะมีแนวโน้มล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 11-15 ส.ค. 66 ณ สถานีนครพนม จ.นครพนม ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ดังกล่าวกอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 14/2566 ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ จ.เชียงราย เชียงใหม่ ตาก และน่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล และตรัง
สทนช.ประสานประเทศสมาชิกน้ำโขงผ่าน MRCS ช่วยบริหารน้ำเพื่อควบคุมระดับแม่น้ำโขง
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักสะสมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 10 – 15 ส.ค. 66 ตามประกาศ ฉบับที่ 13/2566 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง โดยมีการประสานข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์น้ำฝนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) มาอย่างต่อเนื่อง
สทนช.ในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยได้ประสานไปยัง MRCS ให้ติดตามสถานการณ์น้ำโขงอย่างใกล้ชิด และแจ้งให้ประเทศสมาชิกรับทราบต่อเนื่อง เพื่อเตรียมการป้องกันและรับมือหากเกิดสถานการณ์อุทกภัย รวมถึงขอความร่วมมือ MRCS ประสานกับ สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ช่วยบริหารน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ที่จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุทกภัยจากสาเหตุระดับน้ำโขงสูงจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สำหรับสถานการณ์น้ำโขงในสถานีต่างๆ ปัจจุบัน พบว่า ยังต่ำกว่าระดับตลิ่ง และได้ติดตามสถานการณ์น้ำโขงอย่างใกล้ชิดเพื่อประสานแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนที่อาจะได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 12 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2566 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยางแม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
2.1 กรมชลประทาน ดำเนินการตรวจสอบสภาพอาคารชลประทาน ในพื้นที่คลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เพื่อให้พร้อมใช้งานในการส่งน้ำพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันอุทกภัยตามมาตรการรับมือฤดูฝน
2.2 กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือไฟป่าในพื้นที่ ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 9 เครื่อง เพื่อการรักษาระดับน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นในป่าพรุไม่ให้ระดับน้ำลดต่ำลง
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ประสานประเทศสมาชิกน้ำโขงผ่าน สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) ช่วยบริหารน้ำเพื่อควบคุมระดับแม่น้ำโขง โดย สทนช. ทำหนังสือด่วนถึงสำนักงานเลขาธิการแม่น้ำโขงขอความร่วมมือประเทศสมาชิกน้ำโขงและจีน บริหารน้ำช่วยควบคุมระดับน้ำแม่น้ำโขง หลังพบความเสี่ยงอุทกภัยจากฝนตกหนักใน สปป.ลาว ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนที่ตกหนักสะสมในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง และบริเวณแขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ทำให้ระดับน้ำแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ทำให้ประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 10 – 15 สิงหาคม 2566ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2566 เรื่อง เฝ้าระวังผลกระทบจากระดับน้ำเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 8 จังหวัดริมน้ำโขง โดยมีการประสานข้อมูลการคาดการณ์สถานการณ์น้ำฝนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Secretariat: MRCS) มาอย่างต่อเนื่อง