สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 10 สค. 66
ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (85) จ.แพร่ (81) จ.สกลนคร (75) กรุงเทพมหานคร (51) จ.ตราด (47) และ จ.กาญจนบุรี (39)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,963 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,240 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สทนช. ลงพื้นที่ติดตามโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำสระสาธารณะ พร้อมระบบกระจายน้ำ สนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.บ้านแก้ง อ.เมือง จ.สระแก้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับบรรเทาป้องกันปัญหาอุทกภัย เป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ และรักษาระบบนิเวศ มีพื้นที่รับประโยชน์ 80 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 10 ครัวเรือน
กอนช. ประกาศ ฉบับที่ 14/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 12-18 ส.ค. 66 เนื่องจากร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งกอนช. วิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้
ภาคเหนือ จ.เชียงราย (อ.แม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จ.เชียงใหม่ (อ.อมก๋อย) จ.ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จ.น่าน (อ.เมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะ จ.น่าน ซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่ อ.เวียงสา อ.ท่าวังผา และ อ.แม่จริม ระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จ.บึงกาฬ (อ.เมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จ.นครพนม (อ.เมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) และ จ.สกลนคร (อ.บ้านม่วง และอากาศอำนวย)
ภาคตะวันออก จ.ระยอง (อ.เขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จ.ตราด (อ.เมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จ.พังงา (อ.คุระบุรี และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.เมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จ.สตูล (อ.ละงู) จ.ตรัง (อ.กันตัง สิเกา และปะเหลียน)
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 14/2566 ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2566 แจ้งเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ด้วย กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ในช่วงวันที่ 12 – 18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย) จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง) จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่านซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในพื้นที่อำเภอเวียงสา อำเภอท่าวังผา และอำเภอแม่จริม ระดับน้ำ จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์) จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย) ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืช บริเวณท้องที่ ตำบลมะมัง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และบริเวณ คลองบางบัวทอง ตำบลบางรักพัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพื่อให้สามารถส่งน้ำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ รวมถึงดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณ หมู่ที่ 7 บ้านนาถัง ตำบลถ้ำกระต่ายทอง
อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือเกษตรกรในการเพาะปลูกพืชนาปี
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วันที่ 9 สิงหาคม 2566 นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่า จากการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนจะตกหนักขึ้นในช่วงวันที่ 11 – 13 สิงหาคม 2566 โดยมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ตาก น่าน จันทบุรี ตราด พังงา และระนอง
ซึ่ง กอนช. จะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจะมีการประกาศแจ้งเตือนในทันที และกำชับหน่วยงาน ให้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยได้ขอให้ดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกัน กอนช.ยังเฝ้าติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดจากปรากฎการณ์เอลนีโญ
ในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ซึ่ง สทนช. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แล้งเพื่อหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนชุมชน และประชาชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าระยะสั้นและแผนระยะยาวให้เกิดความยั่งยืน