สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ส.ค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก บริเวณ จ.บึงกาฬ (138) จ.ตาก (137) จ.ตราด (121) จ.สุราษฎร์ธานี (117) จ.กาญจนบุรี (43) จ.พระนครศรีอยุธยา (13)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,413 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,764 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นเหตุให้เกิดดินสไลด์บนถนนเส้นทางของแขวงทางหลวงชนบท แม่ฮ่องสอนหมายเลข มส 3017 แม่สวด-แม่เงา ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ลงพื้นที่ดำเนินการปรับเกลี่ยเส้นทางดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กอนช. เน้นย้ำหน่วยงานเร่งติดตามพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง ดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 ป้องกันแล้ง-ท่วมอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ภาคกลาง
กอนช. กำชับให้กรมชลประทานและการประปาส่วนภูมิภาค เคร่งครัดการบริหารจัดการน้ำอย่างสมดุลในทุกภาคส่วน วิเคราะห์และวางแผนอย่างรัดกุมให้มีความสอดคล้องกับความผันแปรของสภาพภูมิอากาศเพื่อรองรับผลกระทบของเอลนีโญที่คาดจะลากยาวไปถึงปี 2567 และวางแผนและควบคุมการใช้น้ำให้เพียงพอถึงฤดูแล้วปี 2567 เพื่อ สทนช. จะได้นำไปประกอบการบูรณาการป้องกันและบริหารจัดการความเสี่ยง รวมทั้งเตรียมใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลากในช่วงฝนตกหนักนี้ให้การประปาส่วนภูมิภาค พัฒนาและเตรียมแหล่งน้ำสำรองสำหรับการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนด้วยและการประประส่วนภูมิภาค ติดตามสถานการณ์น้ำและเฝ้าระวังระดับน้ำควบคุมสถานีจ่ายน้ำให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมทั้งนี้ กำชับให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ควบคู่ต่อเนื่องไปด้วย ทั้งการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่และเครื่องจักรเครื่องมือ เร่งซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำและโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน เร่งกำจัดผักตบชวาและสิ่งกีดขวาง ทางน้ำต่างๆ รวมถึงการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุและซักซ้อมการตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ซึ่ง จ.ลพบุรี จะมีการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้าและสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ภาคกลาง ในระหว่างวันที่ 3-4 ส.ค.นี้ ณ โรงแรม โอทู ลพบุรี เพื่อเตรียมรับมือทั้งสถานการณ์อุทกภัยและภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ดังนี้
- ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
1.1 กรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่คลองผดุงกรุงเกษม พื้นที่เขตพระนคร เพื่อตรวจสอบการควบคุมระดับน้ำและการไหลเวียนน้ำในคลองผดุงกรุงเกษม พร้อมทั้งติดตามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเก็บขยะในคลองผดุงกรุงเกษม
1.2 กรมชลประทาน ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) จังหวัดระยอง ให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำ Hydro flow จำนวน 3 เครื่อง บริเวณปากคลองผันน้ำเชื่อมอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จังหวัดระยอง เพื่อเร่งการผันน้ำจากอ่างฯ คลองใหญ่ ไปเติมอ่างฯ หนองปลาไหล เพื่อกระจายน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และอุตสาหกรรม - สภาพอากาศและการคาดการณ์
ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 4 – 8 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก - การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่สำรวจความเหมาะสมเบื้องต้นโครงการด้านแหล่งน้ำตามคำขอในพื้นที่ตำบลแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยมีผู้นำท้องถิ่นและผู้นำชุมชนร่วมสำรวจและให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ - การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม จำนวน 10 จังหวัด ดังนี้ จังหวัดเชียงใหม่(อมก๋อย, แม่อาย) ตาก(ท่าสองยาง, แม่ระมาด) กาฬสินธุ์(สมเด็จ)นครพนม(นาแก, นาทม, เมืองนครพนม) มุกดาหาร(เมืองมุกดาหาร, คำชะอี) จันทบุรี(เมืองจันทบุรี, เขาคิชฌกูฏ, ขลุง, มะขาม, ท่าใหม่, แก่งหางแมว, โป่งน้ำร้อน) ตราด(เกาะช้าง, เขาสมิง, แหลมงอบ, บ่อไร่, เมืองตราด) ปราจีนบุรี(นาดี, ประจันตคาม) ระยอง(เขาชะเมา) และ สตูล(มะนัง, ควนกาหลง)