สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 ก.ค. 66
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมาก จ.บึงกาฬ (108) จ.ระนอง (95) จ.ลำปาง (53) จ.ตราด (29) จ.กาญจนบุรี (28) จ.พระนครศรีอยุธยา (19)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,806 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,227 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ฉบับที่ 12/2566 ในช่วงวันที่ 28 ก.ค. – 2 ส.ค. 66 ดังนี้ภาคเหนือ จ.ตาก และอุทัยธานีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราดภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
กอนช. จับตาสถานการณ์พายุอย่างใกล้ชิด กำชับทุกหน่วยพร้อมรับมือทั้งท่วม-แล้ง ภายใต้สภาวะเอลนีโญนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ กอนช. ว่า อิทธิพลของพายุตาลิม ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 16-22 ก.ค. 66ที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในประเทศไทย 640 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังคงเป็นปริมาณน้ำต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ และปริมาณฝนสะสมในภาพรวมตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน ยังต่ำกว่าค่าปกติ 19%ประเทศไทยยังคงประสบปัญหาฝนตกน้อย ขาดแคลนน้ำ โดยพื้นที่ที่น่ากังวลมากที่สุด ได้แก่ พื้นที่ภาคกลาง ในขณะที่บางพื้นที่มีฝนตกมาก โดยเฉพาะภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ฝั่งอันดามัน ส่งผลให้เกิดอุทกภัยในบางแห่งกอนช. ได้ติดตามแผนที่อากาศโดยกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าร่องความกดอากาศหรือร่องความกดอากาศต่ำที่จะมีอิทธิพลช่วยทำให้เกิดฝนตกในประเทศไทย ปัจจุบันขยับขึ้นไปอยู่บริเวณเหนือประเทศไทย จากลักษณะดังกล่าว คาดว่าในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. 66 จะมีปริมาณฝนตกน้อยลงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ก่อนที่ฝนจะเริ่มกลับมาตกมากขึ้นในช่วงวันที่ 29-31 ก.ค. 66 ซึ่ง กอนช. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวัง พร้อมให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมรองรับสถานการณ์แล้วทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. ได้คาดการณ์ว่า ยังมีโอกาสที่จะมีพายุเข้าสู่ประเทศไทยได้ 1-2 ลูก ซึ่ง กอนช. ยังคงกำชับหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 อย่างเคร่งครัด ทั้งซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ซ่อมแซมบำรุงรักษาอาคารชลศาสตร์ต่าง ๆ เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดผักตบชวา รวมถึงสิ่งกีดขวางทางน้ำทั่วประเทศ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 12/2566 ลงวันที่ 24 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 28 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเกษตรสมบูรณ์) จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดนครพนม (อำเภอท่าอุเทน และศรีสงคราม) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอนางรอง) จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอชุมพลบุรี) จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ
และปรางค์กู่) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ) จังหวัดชลบุรี (อำเภอบ่อทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ โป่งน้ำร้อน แก่งหางแมว และนายายอาม) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี) จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอบ้านตาขุน และพนม) จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ดำเนินการบินฝนหลวง จำนวน 9 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ตาก แพร่ ลพบุรี นครราชสีมา อุบลราชธานี สุรินทร์ และสระแก้ว ส่งผลทำให้มีฝนตกพื้นที่รับน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา อ่างเก็บน้ำภูมิพล อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ และอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 12 แห่ง
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 1 เวทีที่ 2 โครงการจัดทำผังน้ำลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผังน้ำให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบ รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำผังน้ำ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ (ร่าง) ผังน้ำครั้งที่ 1 โดยมี นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ
รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สื่อมวลชน และประชาชนจากพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดชุมพร