สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 21 ก.ค.66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.ตราด (325) จ.พังงา (152) จ.อุบลราชธานี (106) จ.เชียงราย (100) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (49)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,337 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 35,894 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. ได้คาดการณ์ปริมาณน้ำในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้สถานีเชียงแสน จ.เชียงราย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 23-25 ก.ค. 66 ประมาณ 1.20-1.60 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่งสถานีเชียงคาน จ.เลย คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่25 – 27 ก.ค. 66 ประมาณ 0.80-1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่งสถานีหนองคาย จ.หนองคาย จนถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 26 – 30 ก.ค. 66 ประมาณ 1.00 -1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
กอนช. ระดมหน่วยงาน ลุยซ้อมแผนเผชิญเหตุเตรียมตั้งศูนย์ส่วนหน้าพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างนายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดโครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้าและสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ณ เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการจัดกิจกรรมครั้งนี้จะเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานในมาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) และมาตรการที่ 10 การเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ระหว่างภาครัฐกับประชาชนในพื้นที่ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้าร่วมการฝึกเตรียมความพร้อม ด้านบุคลากร ทรัพยากร สถานที่ สิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ สำหรับพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝนนี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติจนเห็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อร่วมซักซ้อมการปฏิบัติตามมาตรการให้สามารถติดตาม ประเมิน บริหารจัดการ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำ รวมถึงแจ้งเตือน และให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบอย่างมีความเป็นเอกภาพ ทันต่อสถานการณ์
จากการวิเคราะห์ฝนคาดการณ์ ONEMAP พบว่า ภาคใต้มีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในเดือนกรกฎาคม 2566 จำนวน 3 จ. ได้แก่ จ.กระบี่ ชุมพร และ สุราษฎร์ธานี เดือนสิงหาคม 2566 จำนวน 7 จ. ได้แก่ จ.นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และตรัง เดือนกันยายน 2566 จำนวน 5 จ. ได้แก่ จ.พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ชุมพร และสตูล เดือนตุลาคม 2566 จำนวน6 จ. ได้แก่ จ.พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี ชุมพร สงขลา และสตูล นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 10 จ. และเดือนธันวาคม 2566 อีกจำนวน 8 จ. ทั้งนี้ พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจะมีการปรับปรุงเป็นประจำทุกเดือนเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2566 ลงวันที่ 20 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง พบว่าระดับน้ำแม่น้ำโขง เหนืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 1.53 เมตร คาดการณ์ปริมาณน้ำจากอิทธิพลของพายุและร่องมรสุมกำลังแรงทำให้เกิดฝนตกเพิ่มขึ้นในพื้นที่แม่น้ำโขงตอนล่าง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
สถานีเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 2.40 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 9.10 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 23 – 25 กรกฎาคม 2566 ประมาณ 1.20 – 1.60 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สถานีเชียงคาน จังหวัดเลย ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 6.92 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 7.58 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ในช่วงวันที่ 25 – 27 กรกฎาคม 2566 ประมาณ 0.80 – 1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
สถานีหนองคาย จังหวัดหนองคาย จนถึง สถานีโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่3.92 – 4.64 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 7.28 – 8.86 เมตร คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในช่วงวันที่ 26 – 30 กรกฎาคม 2566 ประมาณ 1.00 – 1.50 เมตร แต่ยังคงต่ำกว่าระดับตลิ่ง
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ณ เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา มีการจัดกิจกรรมในวันนี้เป็นครั้งที่ 4 จากทั้งหมด 6 ครั้ง โดย กอนช. ได้ตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566 เป็นอย่างมาก เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ในปีที่ผ่านมา ที่เกิดฝนตกหนักสะสมจนทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัย จึงได้มีการบูรณาการหน่วยงานเพื่อเตรียมการบริหารจัดการน้ำและได้จัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าภาคกลาง ที่ จ.ชัยนาท ศูนย์ส่วนหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ จ.อุบลราชธานี และศูนย์
ส่วนหน้าภาคใต้ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากหน่วยงานต่างๆ จึงนำมาสู่การขยายผลทำให้เกิดเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรับมือฤดูฝนในปีนี้ด้วย ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566โดยรูปแบบการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมือสถานการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ เป็นการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TTX) จำลองสถานการณ์เกิดอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดยะลา มีขั้นตอนการฝึกประกอบด้วย การจำลองการจัดตั้งศูนย์ส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย และใช้กลไกการปฏิบัติตามโครงสร้างของศูนย์ส่วนหน้า รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทั้งเครื่องจักรเครื่องมือแผนเผชิญเหตุ สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคใต้ มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 2 แห่ง ปัจจุบันมีปริมาตรน้ำรวม 4,065 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 57 เทียบกับระดับเก็บกัก หรือมีปริมาตรน้ำใช้การ 2,437 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 45 เทียบกับความจุใช้การ ซึ่งภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 955 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 66 เทียบกับระดับเก็บกัก