สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 ก.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักบริเวณ จ.จันทบุรี (73) จ.ชุมพร (71) จ.เชียงใหม่ (48) จ.บึงกาฬ (44) จ.พระนครศรีอยุธยา (17) จ.กาญจนบุรี (15)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,496 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,040 ล้าน ลบ.ม. (50%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช.ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 66 ดังนี้ ภาคเหนือ บริเวณ จ.เชียงราย น่าน แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร ร้อยเอ็ด และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ บริเวณ จ.ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล พัทลุง และนราธิวาส
กองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินการขุดสระเก็บน้ำ ให้กับประชาชนและพระสงฆ์ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค และกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรในห้วงฤดูแล้ง ณ วัดเทพนรินทราราม ต.วังสามหมอ อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี และขุดเจาะบ่อบาดาล บ้านเทพนิมิต ต.วังกระทะ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค – บริโภค เร่งด่วน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะฝนทิ้งช่วงในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 10 และการประปาส่วนภูมิภาคเขต 2 โดยสรุปประเด็นได้ ดังนี้พื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 10 พื้นที่ชลประทาน 2,514,599 ไร่ พื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 281,188 ไร่ คิดเป็น 100% เนื่องจากเร่งการเพาะปลูก เพื่อหลีกเสี่ยงความเสียหายจากน้ำท่วมโครงการชลประทานลพบุรี ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในเขตชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำทั้งหมด 32 เครื่อง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย พระนครศรีอยุธยา 10 เครื่อง ชัยนาท 7 เครื่อง นครสวรรค์ 3 เครื่อง อ่างทอง 1 เครื่อง และลพบุรี 11 เครื่อง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและบรรเทาสถานการณ์ขาดแคลนน้ำในพื้นที่การเกษตรปรับแผนการบริหารจัดการน้ำของโครงการชลประทานลพบุรี เพื่อรองรับสถานการณ์ โดยดำเนินการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และแจ้งเตือนเกษตรกรถึงสถานการณ์ภาวะฝนทิ้งช่วง และการขาดแคลนน้ำที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์เอลนีโญ่ รวมถึงการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2566 ลงวันที่ 12 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 15 – 20 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ จำนวน3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่สาย และแม่จัน) จังหวัดน่าน (อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปัว และเชียงกลาง) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุนยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย) จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง) จังหวัดสกลนคร (อำเภอโคกศรีสุพรรณ) จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอบุณฑริก) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง และเกาะกูด) และภาคใต้ จำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง สุขสำราญ และกะเปอร์) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ เกาะลันตา คลองท่อม เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง ห้วยยอด และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง ป่าบอน และควนขนุน) จังหวัดนราธิวาส (อำเภอระแงะ)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
2.1 กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน โดยกรมเจ้าท่ารับผิดชอบดำเนินการในแม่น้ำสายหลักท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท และท้ายเขื่อนพระราม 6 คิดเป็นผลงานสะสม ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2566รวม 500,837 ตัน คิดเป็นผลงานร้อยละ 76.12 และคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานได้ภายในเดือนกันยายน 25662.2 กรุงเทพมหานคร ร่วมมือกรมทางหลวงเปิดทางระบายน้ำในคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิตบริเวณแยกสุทธิสาร เพื่อให้น้ำในคูน้ำไหลเข้าสถานีสูบน้ำสุทธิสารฝั่งขาออกสูบระบายลงคลองบางซื่อได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้ง เก็บเนินดินสันดอนในคลองห้วยขวางตัดคลองนาซอง และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเก็บขยะบริเวณสถานีสูบน้ำประชาสงเคราะห์ 24 และเร่งรัดงานก่อสร้างบ่อสูบน้ำซอยลาดพร้าว 64