สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 ก.ค. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.กาญจนบุรี (101) จ.นราธิวาส (88) จ.จันทบุรี (62) จ.สุพรรณบุรี (55) จ.เชียงราย (55) และ จ.สกลนคร (50)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,612 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,154 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 12–13 ก.ค. 66 บริเวณ ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ สทนช. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำสะอาดสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่สอง ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภค-บริโภคให้ประชาชนบนพื้นที่สูงถิ่นทุรกันดารพร้อมรองรับรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ประชาชนได้รับประโยชน์ 140 ครัวเรือน จำนวน 500 คน
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและภัยแล้งอย่างใกล้ชิด พร้อมเร่งแก้ไขปัญหา
วานนี้ (11 ก.ค. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำโดยในที่ประชุมฯ กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ประเมินสถานการณ์ฝน ONE MAP และคาดการณ์ ดังนี้
ในช่วงระหว่างวันที่ 15-19 ก.ค. 66 จะมีโอกาสมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน ชายขอบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน
เดือน ส.ค. จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนมากกว่าค่าปกติ 3% มีแนวโน้มปริมาณฝนเพิ่มมากขึ้นบริเวณภาคเหนือฝั่งตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝั่งตะวันออก ในส่วนพื้นที่ตอนกลางยังคงมีโอกาสเกิดฝนน้อยเดือน ก.ย. คาดว่าจะมีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติ 8% โดยมีปริมาณฝนลดลงในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง รวมถึงภาคกลางที่ยังมีฝนน้อย ประกอบกับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งโดยแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเกิดภัยแล้ง
ทั้งนี้ กำชับให้ สทนช. บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ เร่งแก้ไขปัญหาทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว
กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ํา ประจําวันท่ี 12 กรกฎาคม 2566 ดังน้ี 1. ผลการดําเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร ดําเนินการเก็บขยะและวัชพืช เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้น้ําไหลได้สะดวกไม่มีขยะ และวัชพืชกีดขวางทางน้ําไหล โดยได้ดําเนินการในหลายจุด ได้แก่ หน้าตะแกรงสถานีสูบน้ําคลองหลุมไผ่ ช่วงปากคลองลาดพร้าว พื้นที่เขตบางเขน คลองสนามชัย ช่วงถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล พื้นที่เขตบางขุนเทียน บึงกระเทียม ซอยเสรีไทย 95 พื้นที่เขตมีนบุรี คลองสนามชัย ช่วงสถานีสูบน้ําคลองพระยาราชมนตรี พ้ืนที่เขตบางขุน เทียน คลองประเวศบุรีรัมย์ ช่วงประตูระบายน้ําลาดกระบัง พื้นที่เขตลาดกระบัง
การบริหารจัดการน้ํา การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสํานักงานทรัพยากรน้ําแห่งชาติ (สทนช.) แถลงข่าวหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ํา กอนช. ว่า แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะเข้าสู่เข้าสู่ สภาวะเอลนีโญแล้ว แต่บางพื้นที่ยังคงมีแนวโน้มของปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดย สทนช. บูรณาการความร่วมมือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ เร่งแก้ไขปัญหาทั้งน้ําท่วมและภัย แล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทั่วประเทศได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งที่ผ่านมา กอนช. ได้มีการออกประกาศ แจ้งเตือนน้ําท่วมฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีพื้นที่ประสบอุกทกภัย จํานวน 5 จังหวัด ได้แก่ จ.น่าน ร้อยเอ็ด ภูเก็ต ตรัง และสตูล ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือตามข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี โดยขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. คาดการณ์ว่าในช่วง ระหว่างวันที่ 15-19 ก.ค. 66 จะมีโอกาสมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนบน บริเวณชายขอบของ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน และจะมีการใช้ข้อมูลคาดการณ์ฝนในการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ เพื่อพิจารณาออกประกาศแจ้งเตือน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีแหล่งน้ําขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ําน้อย จํานวน 4 แห่ง คือ ภาคเหนือ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนสิริกิติ์และบึงบอระเพ็ด ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงพื้นที่ลุ่มน้ําเจ้าพระยา ตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนจุฬาภรณ์ และภาคตะวันตก 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนปราณบุรี ซึ่งโดย ปกติแล้วแหล่งน้ําในภาคตะวันตกจะสามารถช่วยเหลือในเรื่องการผลักดันน้ําเค็มของภาคกลาง และใช้เป็นน้ําต้นทุน ผลิตประปาของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ําอื่น ๆ ที่มีปริมาณ น้ําน้อยเช่นกัน เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนวชิราลงกรณ ฯลฯ จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรณรงค์ให้ประชาชนมีการใช้น้ําอย่างประหยัด รวมถึงต้องเพาะปลูก ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ําต้นทุนที่มีอยู่ ในขณะเดียวกันก็มีแหล่งน้ําขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ําน้อย จํานวน 2 แห่ง คือ ภาคเหนือ 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ได้แก่ เขื่อนน้ําพุง โดยจะมี การบริหารจัดการน้ําและดูแลความปลอดภัยของเขื่อนอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนด้านท้ายน้ํา ในช่วงวันที่ 11 – 13 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทําให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.ค. 66 ร่องมรสุมพาด ผ่านประเทศเมียนมา ลาวตอนบน และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเล อันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทําให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มข้ึนและมีฝนตกหนักบางแห่ง