สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 9 ก.ค. 66

ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงสูงสุดที่ผ่านมารายภาค มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (150) จ.พิษณุโลก (134) จ.กาญจนบุรี (113) จ.จันทบุรี (60) จ.สุพรรณบุรี (40) และ จ.เลย (36)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,750 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,289 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำตื้นให้กับประชาชน แก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน โดยมีผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งสิ้น 150 ครัวเรือน 372 คน ในพื้นที่ บ.นาไร่เดียว ม.5 ต.สองห้อง อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ และสนับสนุนรถขุดตัก รถบรรทุกเทท้าย ร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ เก็บกำจัดวัชพืช เพื่อเพิ่มปริมาตรกักเก็บน้ำไว้ใช้และสามารถนำน้ำไปใช้อุปโภคและทำการเกษตรได้สะดวก พื้นที่สระน้ำสาธารณะประโยชน์ บ้านตากแว้งล่าง ม.7 ต.บ่อพลอย อ.บ่อไร่ จ.ตราด
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 9–11 ก.ค. 66 บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี มุกดาหาร และนครพนม ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา สตูล และพัทลุง
สนทช.ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนและลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตกสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 และการเตรียมการรองรับสถานการณ์เอลนีโญ โดยนำเสนอ 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 สถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ สถานการณ์ฝนในภาคกลาง คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ในเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน ปี 2566 และแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ปี 2566 ทั้งนี้ กรมชลประทานได้นำเสนอข้อมูลการบริหารจัดการน้ำ แผน/ผลการดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 แผนป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ (เตรียมการก่อนฤดูฝน-ฤดูแล้ง) และการเตรียมความพร้อมรับผลกระทบจากปรากฏกรณ์เอลนีโญ รวมถึง ปัญหาอุทกภัยที่ผ่านมา และแผนเตรียมการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วนและระยะยาวของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางเลน พร้อมทั้ง
ลงพื้นที่ ณ ประตูระบายน้ำคลองบางหลวง และตลาด ร.ศ. 112 เพื่อตรวจสอบความพร้อมใช้งานสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 4 เข้าร่วมประชุมหารือการจัดหาน้ำต้นทุนจากขุมน้ำ/แหล่งน้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ปัจจุบันมีน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนและเจ้าของขุมเหมือง จำนวน 10 ขุมเหมือง เพื่อหารือขอใช้น้ำจากขุมเหมืองเพื่อเป็นน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา โดยผู้แทนและเจ้าของขุมเหมืองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมีมติเห็นชอบให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาภูเก็ต จัดทำรายละเอียดในการขอซื้อน้ำจากขุมเหมืองเอกชน ในส่วนของขุมเหมืองที่อยู่ในพื้นที่ของรัฐ ได้มีมติให้ตั้งคณะทำงานเพื่อทำการสำรวจตรวจสอบที่ดิน และการขอใช้ที่ดินและ น้ำดิบต่อไป

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2566 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8 – 11 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียมและสิรินธร) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม และธาตุพนม) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอนิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง(อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา) จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ ทั้งนี้เนื่องจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออก และภาคกลาง ประกอบกับ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
3.1 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสอบและล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เตรียมพร้อมรับฝน เพื่อให้ ท่อระบายน้ำไหลได้สะดวก รวดเร็ว ไม่อุดตัน โดยได้ดำเนินการในหลายจุด อาทิ ถนนตรีเพชร ช่วงตรงข้ามห้างดิโอลด์สยาม พื้นที่เขตพระนคร ถนนพรานนก – พุทธมณฑลสาย 4 ช่วงตัดถนนพุทธมณฑลสาย 2 พื้นที่เขตบางแค รางรับน้ำฝน ถนนหมู่บ้านเศรษฐกิจ พื้นที่เขตบางแค หมู่บ้านพูนสินไพรเวซี่ร่มเกล้า พื้นที่เขตลาดกระบัง และใกล้คลองพระยาเพชร ฝั่งขาเข้า พื้นที่เขตลาดกระบัง3.2 การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เร่งแก้ปัญหาน้ำประปาไม่เพียงพอบนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานานประกอบกับความต้องการใช้น้ำประปาที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้แหล่งน้ำดิบของเกาะสมุย ลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระทบต่อประชาชนและธุรกิจท่องเที่ยว กปภ.จึงเร่งดำเนินการโดยการส่งน้ำประปาผ่านระบบท่อลอดใต้ทะเลจาก กปภ.สาขาสุราษฎร์ธานี และสาขากาญจนดิษฐ์ มายังเกาะสมุยเฉลี่ยวันละ 24,000 ลูกบาศก์เมตร จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ รวมถึงจัดเตรียมโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อส่งจ่ายน้ำในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว นอกจากนี้ ยังได้จัดเตรียมรถบรรทุกน้ำสำหรับนำน้ำสะอาดแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนกรณีฉุกเฉิน
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเกาะช้าง และบ่อไร่) จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)