สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 ก.ค. 66

ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.นราธิวาส (109) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (88) จ.พะเยา (71) จ.ระยอง (60) จ.ชัยภูมิ (49) จ.สุพรรณบุรี (40)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,358 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,357 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 8–11 ก.ค. 66 บริเวณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี มุกดาหาร และนครพนม ภาคตะวันออก จ.ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จ.ระนอง ตรัง กระบี่ พังงา สตูล และพัทลุง
กรมเจ้าท่า ขุดลอกร่องน้ำคลองหนองมวง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา ความลึกก้นร่องน้ำ 2.00 เมตร ความกว้างก้นร่องน้ำ 15 และความยาว 800 เมตร ช่วยส่งเสริมอาชีพประมงในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียง และบำรุงรักษาร่องน้ำลดสิ่งกีดขวางเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำออกสู่ทะเลอ่าวไทยลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ โดยประชาชนจะได้รับประโยชน์จำนวนประมาณ 150 ครัวเรือนจากการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก และการใช้ร่องน้ำทำอาชีพเกษตรกร จำนวน 50 ครัวเรือนนายกรัฐมนตรีติดตามการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-แล้ง และเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามการประเมินสถานการณ์น้ำของประเทศซึ่ง กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่าภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศ ต่ำกว่าค่าปกติ 25% ซึ่งที่ผ่านมาในหลายพื้นที่ยังมีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยฝนจะตกในพื้นที่ภาคใต้เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตก ขณะที่สถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวม 40,808 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 50% ของความจุรวมทั้งหมด ในปริมาณนี้เป็นน้ำใช้การ 16,698 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 29% ซึ่งปัจจุบันมีการใช้น้ำนับจากช่วงต้นฤดูฝนไปแล้ว 10% โดยภาคกลางเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนน้อยที่สุดในขณะนี้ และการจัดสรรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ให้แก่พื้นที่ต่างๆ แล้ว 6,604 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 42% ของแผนทั้งหมด โดยจัดสรรน้ำภาคเหนือมากที่สุด โดยจัดสรรไปแล้ว 54% ของแผน
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม น้ำแล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน ตามปริมาณฝนคาดการณ์ ONE MAP พบว่า มีพื้นที่ที่มีภาวะความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางของประเทศ และยังคงมีพื้นที่ซึ่งเป็นแนวรับลมที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมจากฝนตกหนัก โดยในเดือน ก.ค. 66 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในบริเวณชายขอบของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณ จ.เชียงราย พะเยา และน่าน พื้นที่บริเวณชายขอบของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ภาคกลาง บริเวณ ลุ่มน้ำป่าสัก จ.เพชรบูรณ์ และพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ระนอง ลงไป และพบพื้นที่เสี่ยงแล้ง เช่น จ.จันทบุรี และ จ. เพชรบุรี เป็นต้น จึงขอย้ำให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ผ่านทางช่องทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน National Thai water เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 8 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ตามประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 8/2566 ลงวันที่ 5 ก.ค. 2566 กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 8 – 11 ก.ค. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอโขงเจียมและสิรินธร) จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร และหว้านใหญ่) จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม และธาตุพนม) ภาคตะวันออก จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอนิคมพัฒนา เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง(อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง(อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ ย่านตาขาว เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา) จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า มะนัง ท่าแพ และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมโยธาธิการและผังเมือง บูรณาการหน่วยงานทั่วประเทศ เร่งตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของคัน/ทำนบพนังกั้นน้ำ และเดินหน้ากำจัดผักตบชวาและวัชพืช เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำหลากและปริมาณฝนที่จะตกชุกหนาแน่นในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำที่เอ่อล้นตลิ่ง
ในหลายพื้นที่
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. ได้เข้าร่วมการประชุมสภาน้ำแห่งเอเชีย หรือ (Asia Water Council: AWC) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานด้านน้ำของประเทศสมาชิกต่างๆ เข้าร่วม อาทิ สาธารณรัฐเกาหลี จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น ทั้งนี้ ในที่ประชุม 4th General Assembly ของสภาน้ำแห่งเอเชีย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 ประเทศสมาชิกได้เลือก สทนช. ให้เป็นคณะกรรมการบริหารของสภาน้ำแห่งเอเชีย (Board of Council) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีบทบาทในการเสนอความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการบริหารจัดการน้ำและการแก้ไขปัญหาด้านน้ำในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งเป็นภารกิจของ สทนช. ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลัก SDG6 การเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขอนามัยของประเทศไทย
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา)