สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 ก.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.กาฬสินธุ์ (105) จ.เชียงใหม่ (65) จ.พระนครศรีอยุธยา (51) จ.สตูล (48) จ.กาญจนบุรี (41) และ จ.ชลบุรี (16)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,812 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,380 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในช่วง 1-3 วัน ได้แก่ อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร และ อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ
กรมชลประทาน ปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 อย่างเคร่งครัด โดยให้มีการจัดสรรน้ำตามรอบเวรอย่างประณีต พร้อมสำรวจความมั่นคงของอาคาร คันดิน ประตูระบายน้ำให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ สนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำจุดเสี่ยงทั่วประเทศ พร้อมดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กอนช. ประเมินพื้นที่เสี่ยงท่วม-แล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน เน้นย้ำหน่วยงานกำหนดจัดรอบเวรการรับน้ำเพื่อจัดสรรให้ทั่วถึงทุกพื้นที่กอนช. ประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 66 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย กอนช. ได้จำลองปริมาณน้ำจาก ปี 62 เพื่อใช้คาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การของอ่างฯ ขนาดใหญ่ ณ วันที่ 1 พ.ย. 66 พบว่า จะมีปริมาณน้ำใช้การ 26,071 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 55% ซึ่งน้อยกว่าเมื่อปีที่แล้ว และคาดว่า ณ วันที่ 1 พ.ย. 66 จะมีอ่างฯ ขนาดใหญ่ จำนวน 21 แห่ง ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงน้ำน้อย จึงจำเป็นจะต้องติดตามเฝ้าระวังการใช้น้ำ รวมทั้งต้องติดตามในเรื่องแผนการจัดสรรน้ำอย่างเคร่งครัด โดยจะต้องระบายน้ำให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ และใช้เสริมจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาเท่านั้น เพื่อให้มีน้ำสำรองกักเก็บไว้ในแหล่งน้ำ โดยเฉพาะในอ่างฯ ขนาดใหญ่ให้ได้มากที่สุดจากการจัดสรรน้ำในเกณฑ์ปริมาณน้ำน้อยจะส่งผลให้ระดับน้ำในคลองต่าง ๆ น้อยตามไปด้วย จึงต้องมีการจัดรอบเวรการรับน้ำ โดยแบ่งออกเป็น ต้นคลอง กลางคลอง และปลายคลอง เพื่อให้สามารถกระจายน้ำให้แก่ทุกพื้นที่ที่ต้องการใช้น้ำได้อย่างทั่วถึงทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมิน วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม น้ำแล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน ตามปริมาณฝนคาดการณ์ ONE MAP พบว่า มีพื้นที่ที่มีภาวะความเสี่ยงในการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ตอนกลางของประเทศ และ ยังคงมีพื้นที่ซึ่งเป็นแนวรับลมที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมจากฝนตกหนัก โดยในเดือน ก.ค. 66 พบว่า มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในบริเวณชายขอบของประเทศ ได้แก่ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน บริเวณชายขอบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และพื้นที่ภาคใต้