สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 3 ก.ค. 66

ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่องส่วนมากด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.กาญจนบุรี (240) จ.ลำปาง (155) จ.ร้อยเอ็ด (119) จ.สงขลา (110) จ.จันทบุรี (83) จ.ปทุมธานี (60)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,803 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,404 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2566 ดังนี้ ภาคตะวันออกจ.ระยอง (อ.เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จ.จันทบุรี (อ.ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.บ่อไร่ และเมืองตราด) ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.ตรัง (อ.หาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ เมืองตรัง และห้วยยอด) จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า และควนกาหลง) จ.พัทลุง(อ.ป่าบอน)
ตามที่ได้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ และกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและเสี่ยงดินถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณีพบพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2566 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการและช่วยเหลือ ดังนี้กรมชลประทาน ได้เตรียมความพร้อมรับมือ โดยติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำและกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ จำนวน 1 คัน เข้าติดตามและประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำในลำน้ำขว้าง ลำน้ำปัว และพื้นที่เสี่ยงภัย
ต่อการเกิดอุทกภัย เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ขึ้น ณ สะพานลำน้ำขว้าง ต.วรนคร และสะพานลำน้ำปัว ต.ปัว อ.ปัว จ.น่านกอนช. เน้นย้ำ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน พร้อมทั้งติดตามสภาพกาศอย่างใกล้ชิด เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2566
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออก จำนวน3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง (อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย พร้อมรถยนต์ตรวจการณ์ เข้าติดตามและประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำในลำน้ำขว้าง ลำน้ำปัว และพื้นที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดอุทกภัย เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย สามารถเข้าช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นณ สะพานลำน้ำขว้าง ตำบลวรนคร และสะพานลำน้ำปัว ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)และคณะผู้แทน สทนช. หารือร่วมกับนายร็อบเบิร์ต โมรี (Mr. Robbert Moree) ผู้ประสานงานนโยบายด้านทรัพยากรน้ำและสภาพภูมิอากาศ กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำ (Ministry of Infrastructure and Water Management) ซึ่งเป็นหน่วยงานคู่ภาคีตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการและการรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผู้แทนจากหน่วยงานคณะกรรมการด้านน้ำแห่งเนเธอร์แลนด์ (Union of Dutch Water Boards) ณ กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานฯกรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นการหารือมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในระดับนโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม (saltwater intrusion) การปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation หรือ EbA) การเก็บภาษีน้ำ (water tax) และการจัดตั้งกองทุนน้ำ (water fund) ซึ่งเป็นประเด็นที่เนเธอร์แลนด์มีความเชี่ยวชาญ และมีนวัตกรรมรวมถึงแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินการ โดยทางสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เสนอแนวทางขับเคลื่อนการการดำเนินงานความร่วมมือภายใต้เอ็มโอยูระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ใน 3 แนวทางหลัก ประกอบด้วย
จัดส่งเจ้าหน้าที่ สทนช. เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนโยบายด้านน้ำและสิ่งแวดล้อม (Water and Environmental Policy) 2. ร่วมกันจัดทำและออกแบบหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่มีภารกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านน้ำของไทย (Capacity Building Program) ในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน และ 3. การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมดำเนินงาน (Joint Steering Committee: JSC) เพื่อขับเคลื่อนโครงการสำคัญภายใต้ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศ ภายใต้เอ็มโอยูให้เป็นรูปธรรมต่อไป โดยฝ่ายไทยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบให้เร่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้ง 3 ด้าน ทั้งยังแสดงความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมภายใต้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องต่อไป