สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 ก.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.พังงา (216) จ.ตราด (135) จ.อุตรดิตถ์ (114) จ.สกลนคร (87) จ.กาญจนบุรี (70) จ.นนทบุรี (40)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,809 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,418 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมชลประทาน ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย ที่กำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ด้วยการซ่อมแซมสายไฟฟ้าสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านโนนฟากเลย ที่ถูกตัดขโมยสายไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันสามารถเดินเครื่องสูบน้ำ ส่งน้ำไปช่วยเหลือเกษตรกรได้แล้ว ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างมากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามสภาพอากาศ ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคกลางภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและเสี่ยงดินถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากดินถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทันในช่วงวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ภาคตะวันออก จ.ระยอง (อ.เขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย)จ.จันทบุรี (อ.ขลุง เขาคิชฌกูฏ ท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จ.ตราด (อ.บ่อไร่ และเมืองตราด)
ภาคใต้ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.ตรัง (อ.หาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ เมืองตรัง และห้วยยอด) จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า และควนกาหลง) จ.พัทลุง (อ.ป่าบอน)
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 กรกฎาคม 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2566
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 1 – 4 กรกฎาคม 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคตะวันออก จำนวน3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา แกลง และบ้านค่าย) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง เขาคิชฌกูฏท่าใหม่ มะขาม และแก่งหางแมว) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ และเมืองตราด) และภาคใต้ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง (อำเภอหาดสำราญ กันตัง วังวิเศษ เมืองตรัง และห้วยยอด) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า และควนกาหลง) จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าบอน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
การประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการปรับมาตรการเข้ม พร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566 เพื่อป้องกันและลดผลกระทบแก่ประชาชนที่อาจเกิดขึ้นจากอุทกภัย โดยมี 4 มาตรการดังนี้ 1.มาตรการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ โดยเฝ้าระวังคุณภาพและปริมาณน้ำในแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา จัดเตรียมวัสดุที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาให้เพียงพอ และซักซ้อมการป้องกันระบบผลิต/จ่ายน้ำให้พร้อมอยู่เสมอ 2.มาตรการเผชิญเหตุ โดยเฝ้าระวังเครื่องสูบน้ำมิให้ถูกน้ำท่วมระบบผลิตและระบบส่งจ่ายน้ำประปา 3.มาตรการฟื้นฟู โดยค้นหาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ระบบสูบน้ำดิบ ระบบผลิตและระบบส่งจ่ายน้ำประปา พร้อมนำรถบรรทุกน้ำสะอาดออกให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และ 4.มาตรการป้องกัน โดยเร่งดำเนินการค้นหาจุดอ่อนที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานระบบผลิตและส่งจ่ายน้ำประปา เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมการเพื่อให้เกิดความพร้อมรองรับในเหตุการณ์ครั้งต่อไป
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)และคณะผู้แทน สทนช. ประชุมหารือร่วมกับนายไมค์ เกอลิงก์ (Mr. Mike Girling) ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการต่างประเทศ ศูนย์ระดับโลกด้านการปรับตัว (Global Center on Adaptation :GCA) ณ เมืองรอตเตอร์ดัม ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
โดยคำนึงถึงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และได้เห็นชอบร่วมกันในการดำเนินโครงการฝึกอบรมให้กับบุคลากรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยในประเด็นที่เกี่ยวกับการปรับตัวด้านน้ำในชุมชนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการเข้าพบหารือร่วมกับองค์กรด้านน้ำของเนเธอแลนด์ในครั้งนี้ นอกจากเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีในด้านน้ำระหว่างสองประเทศแล้ว ยังเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำร่วมกันภายใต้กรอบความร่วมมือด้านการบูรณาการการบริหารจัดการน้ำและการรองรับการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศระหว่างไทย และเนเธอร์แลนด์ต่อไป