สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 29 มิ.ย.66
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.สุโขทัย (133) จ.สุราษฎร์ธานี (91) จ.เลย (79) จ.นครนายก (66) จ.นนทบุรี (55) และ จ.เพชรบุรี (52)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 40,936 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,537 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากในช่วง 1-3 วัน ได้แก่ จ.น่าน (อ.ท่าวังผา สองแคว อ.ปัว) จ.พังงา (อ.ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี และเมืองพังงา) จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง และกะเปอร์) จ.ตรัง (ปะเหลียน กันตัง และห้วยยอด) จ.สตูล (อ.ควนกาหลง ทุ่งหว้า ละงู และควนโดน) จ.กระบี่ (อ.คลองท่อม และเมืองกระบี่) จ.นครศรีธรรมราช (อ.ช้างกลาง พิปูน และฉวาง)
การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) แก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งเพื่อให้ประชาชนมีน้ำประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำดิบในอ่างเก็บน้ำช้างแรก จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง กปภ.สาขาบางสะพาน ได้ดำเนินการบริหารจัดการการใช้น้ำดิบในอ่างเก็บน้ำช้างแรก โดยลดการส่งน้ำจากสถานีผลิตน้ำช้างแรก เพื่อสำรองน้ำดิบให้เพียงพอต่อการผลิตจ่ายน้ำประปา
กอนช. พร้อมรับมือฝนปี 66 เตรียมลงพื้นที่ซ้อมแผนเผชิญเหตุรับมืออุทกภัย 6 ภูมิภาคทั่วประเทศด้วยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 66 รับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการครอบคลุม 12 มาตรการหลัก ดังนั้น เพื่อเป็นการดำเนินการตามมาตรการที่ 8 ซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัยและฟื้นฟูสภาพให้กลับสู่สภาพปกติ (ตลอดช่วงฤดูฝน) และมาตรการที่ 10 สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชนในการให้ข้อมูลสถานการณ์ (ก่อนฤดูฝนและตลอดช่วงฤดูฝน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัย รวมทั้งการประเมินความพร้อมด้านบุคลากร ทรัพยากร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อให้การบริหารจัดการอุทกภัยและการบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มีการเชื่อมโยงประสานการปฏิบัติ ร่วมกันเพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) จึงดำเนินการจัดโครงการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุตั้งศูนย์ส่วนหน้า และสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคประชาชน ภาคละ 1 พื้นที่ ในระหว่าง มิ.ย.–ส.ค. 66 ได้แก่ จ.เชียงราย ขอนแก่น เพชรบุรี ยะลา ลพบุรี และปราจีนบุรี
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 29 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและรับฟังสภาพปัญหาด้านน้ำในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล เนื่องจากได้รับแจ้งปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ตำบลเกาะสาหร่ายจากองค์กรผู้ใช้น้ำประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันมีฝนทิ้งช่วงทำให้ประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้ สทนช. ได้ให้คำแนะนำในการบริหารจัดการแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งนี้ และได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อแก้ปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ในระยะยาวอย่างยั่งยืน
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 40,937 ล้าน ลบ.ม. (50%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 36,537 ล้าน ลบ.ม. (51%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,147 ล้าน ลบ.ม. (44%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,252 ล้าน ลบ.ม. (44%)3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 3,898 ล้าน ลบ.ม. (21%)
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดน่าน (อำเภอท่าวังผา สองแคว และปัว) จังหวัดพังงา เชียงใหม่ (อำเภอท้ายเหมือง ตะกั่วป่า คุระบุรี และเมืองพังงา) จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) จังหวัดตรัง (อำเภอปะเหลียน กันตัง และห้วยยอด) จังหวัดสตูล (อำเภอควนกาหลง ทุ่งหว้า ละงู และควนโดน) จังหวัดกระบี่ (อำเภอคลองท่อม และเมืองกระบี่)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง พิปูน และฉวาง)