สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 มิ.ย. 66
ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ และภาคตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (83) จ.แพร่ (143) จ.นครศรีธรรมราช (113) จ.เลย (82) จ.ตราด (82)
จ.กาญจนบุรี (52) จ.ปทุมธานี (24)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,132 ล้าน ลบ.ม. (50%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 36,733 ล้าน ลบ.ม. (51%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากในช่วง 1-3 วัน ได้แก่ บริเวณ จ.เชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ และตาก
กรมทรัพยากรน้ำ ร่วมกับ อบต.เนินกว้าว ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง สูบน้ำจากเหมืองส่งน้ำเข้าสระเก็บน้ำดิบประปา บ้านหนองพรมหน่อ หมู่ที่ 6 ต.เนินกว้าว อ.โกรกพระจ.นครสวรรค์ ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตน้ำประปาไม่เพียงพอ โดยมีประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 137 ครัวเรือน450 คนกอนช. ติดตาม หน่วยงานดำเนินการรับมือฤดูฝนปี 2566กรมชลประทาน มีการวางแผนล่วงหน้า เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ
น้ำหลากในปี 2566 นี้ได้อย่างทันต่อสถานการณ์ โดยได้กำชับให้โครงการชลประทานในพื้นที่ ปฏิบัติตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ หรือ กอนช. กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมดำเนินการตาม 6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทาน คือ กักเก็บน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพ คาดการณ์พื้นที่เสี่ยง หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ระบบชลประทานเร่งระบาย Standby เครื่องมือ เครื่องจักร และแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์แนวทางการบริหารจัดการน้ำให้ประชาชนรับทราบล่วงหน้า นอกจากนี้ ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำคลองรังสิตประยูรศักดิ์และตรวจสอบความพร้อมของอาคารชลประทาน บริเวณประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิต จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นจุดรับน้ำจากทางตอนบนและปริมาณฝนในพื้นที่ ก่อนที่จะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนในปีนี้ กรมชลประทานได้เตรียมพร้อมด้านเครื่องจักรเครื่องมือไว้คอยช่วยเหลือประชาชน อาทิ รถแบคโฮเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ เป็นต้น โดยทางโครงการชลประทานในพื้นที่ได้มีการวางแผนติดตั้งเครื่องจักรกลต่าง ๆ ไว้ประจำจุดพื้นที่เสี่ยง และมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างจังหวัด เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่มีการก่อสร้างได้กำชับให้มีการวางมาตรการเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางระบายน้ำ โดยให้บริเวณที่มีการก่อสร้างสามารถระบายน้ำได้ตามศักยภาพของคลองอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน นอกจากนี้ เพื่อให้สอดรับกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต จึงได้สั่งการให้โครงการชลประทานในพื้นที่ พิจารณาการระบายน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งถัดไปด้วย