สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 15 มิ.ย. 66
ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (78) จ.ตราด (57)จ.กาญจนบุรี (47) จ.พิษณุโลก (42) จ.เลย (22) จ.พระนครศรีอยุธยา (12)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 41,874 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,459 ล้าน ลบ.ม. (52%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ จ. แม่ฮ่องสอน และตาก ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.กาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงาน และกระบี่
กองทัพเรือร่วมกับสำนักงานกรุงเทพมหานคร พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือดำเนินการขุดลอกดินเลนท้องคลอง พัฒนาทำความสะอาดกำจัดวัชพืชและขยะสิ่งปฏิกูล กีดขวางทางน้ำในคลอง และรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดและคัดแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะลงคลอง เพื่อลดมลพิษทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่า ปัจจุบันภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติของฤดูฝน 5% โดยขณะนี้ปรากฎการณ์เอนโซยังมีสถานะเป็นกลาง และคาดว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ในช่วงเดือน ก.ค. นี้ปัจจุบันมีการเพาะปลูกข้าวนาปี 2566 ไปแล้วประมาณ 6 ล้านไร่ หรือคิดเป็นราว 35% ของแผนการเพาะปลูกทั้งหมด และในส่วนของการเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังปี 2565/66 ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ขณะนี้มีจำนวน 9 ทุ่ง ที่เก็บเกี่ยวแล้ว 100% โดยเหลือเพียงทุ่งโพธิ์พระยาที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว 80% โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งกรมชลประทานจะติดตามอย่างใกล้ชิดทั้งนี้มีบางพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือ โดยเน้นย้ำให้มีการติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมรายงานผลการแก้ไขปัญหาให้คณะทำงานฯ ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง และที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในระยะยาว เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำในสภาวะเอลนีโญให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมถึง กอนช. จะมีการประชุมเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำเป็นประจำในทุกวันอังคารของสัปดาห์ ตามข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. และจะมีการแถลงข่าวผลการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยจะเริ่มต้นในวันอังคารที่ 20 มิ.ย. นี้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กองทัพเรือ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ จัดกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” พัฒนาพื้นที่คลองโซน ๒ (เขตบางซื่อ และเขตจตุจักร กรุงเทพฯ) ณ บริเวณคลองยายเท้า ถนนประชาราษฎร์สาย ๑ แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ โดยมีการขุดลอกดินเลนท้องคลองการพัฒนาทำความสะอาด การกำจัดวัชพืชและขยะสิ่งปฏิกูล กีดขวางทางน้ำในคลอง การตัดแต่งกิ่งไม้พร้อมปรับแต่งภูมิทัศน์ และการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดและคัดแยกขยะ ไม่ทิ้งขยะลงคลอง เพื่อลดมลพิษทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ และปรับสภาพน้ำให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา และลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วันที่ 13 มิ.ย. 66 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำ ของคณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์ กอนช. จากการรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่า ปัจจุบันภาพรวมปริมาณฝนทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติของฤดูฝน 5% โดยขณะนี้ปรากฎการณ์เอนโซยังมีสถานะเป็นกลาง คาดว่ามีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ในช่วงเดือน ก.ค. นี้ ซึ่งจากการคาดการณ์ระยะสั้น 10 วันล่วงหน้า ยังไม่พบพื้นที่เสี่ยงภัยรุนแรง อย่างไรก็ตามอาจมีฝนตกหนักบางแห่งในพื้นที่ตอนบนของประเทศทั้งนี้ ปัจจุบันมีบางพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งให้ความช่วยเหลือเช่น กรมชลประทานได้ส่งรถบรรทุกน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวสวนทุเรียนและประชาชนในพื้นที่บ้านป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ และได้เน้นย้ำให้มีการติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมรายงานผลการแก้ไขปัญหาให้คณะทำงานฯ ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำในระยะยาว 2 ปี เพื่อวางแผนบริหารจัดการน้ำในสภาวะเอลนีโญให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด รวมถึง กอนช. จะมีการประชุมเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำเป็นประจำในทุกวันอังคารของสัปดาห์ตามข้อสั่งการของพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. และจะมีการแถลงข่าวผลการประชุมเพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง โดยจะเริ่มต้นในวันอังคารที่ 20 มิ.ย. นี้
การคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่มล่วงหน้า 3 วัน
สทนช. ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากดินถล่ม ดังนี้ จังหวัดตาก (อำเภออุ้มผาง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเขาคิชฌกูฏ ขลุง ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี แก่งหางแมว มะขาม นายายอาม และโป่งน้ำร้อน) จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย และแกลง) จังหวัดตราด (อำเภอบ่อไร่ เขาสมิง เกาะช้าง เมืองตราด และแหลมงอบ) จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอประจันตคาม และนาดี) จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี) จังหวัดชลบุรี (อำเภอศรีราชา และบ่อทอง) จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ)