สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 8 มิ.ย. 66

ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.บึงกาฬ (109) จ.ระนอง (102) จ.น่าน (99) จ.ตราด (68) จ.ลพบุรี (55) และ จ.กาญจนบุรี (27)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,340 ล้าน ลบ.ม. (51%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 37,945 ล้าน ลบ.ม. (53%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมชลประทาน เร่งส่งรถบรรทุกน้ำ พร้อมเครื่องจักร เครื่องมือเพื่อช่วยเหลือแจกจ่ายน้ำและขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสวนทุเรียนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบนซึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหา ขาดแคลนน้ำในพื้นที่ ต.ช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก ต.สวนแตง อ.ละแม และต.เขาค่าย อ.สวี จ.ชุมพร ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน ตาก แพร่ พิจิตร อุตรดิตถ์นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี ภาคกลาง ลพบุรี สระบุรี ปทุมธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ชัยภูมิ บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคตะวันตก จ.ภาญจนบุรี ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และยะลาเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 66 ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ประชุมคณะทำงานพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในเขตพื้นที่มรดกโลก กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครั้งที่ 1/2566 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางสุพร ตรีนรินทร์ รองเลขาธิการ กปร. เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้เน้นย้ำให้พิจารณาประเด็นการพัฒนาที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนการคำนึงถึงความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องด้วยวานนี้ (7 มิ.ย. 66) นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองหมายเลข 3 (คลองน้ำอ้อม คลองบางหลวงเชียงราก และคลองบ้านพร้าว) จ.ปทุมธานี ครั้งที่ 1/2566 เพื่อรับทราบแผนการดำเนินงานในพื้นที่คลองหมายเลข 3 ที่ผ่านมา และพิจารณากรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดทำร่างแผนการพัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูคลองหมายเลข 3 จังหวัดปทุมธานี เพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการน้ำในคลองตลอดทั้งสาย ให้สามารถระบายน้ำท่วมขังได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และลดผลกระทบการเดินทางสัญจรของประชาชน

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 8 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 7-11 มิถุนายน 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว แม่แจ่ม แม่วาง กัลยาณิวัฒนา จอมทอง สะเมิง อมก๋อย และฮอด) จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน แม่ลาน้อย แม่สะเรียง ขุยวม ปางมะผ้า ปาย และสบเมย) จังหวัดลำพูน (อำเภอทุ่งหัวช้าง แม่ทา บ้านโฮ่ง และป่าซาง) จังหวัดตาก (อำเภอแม่ระมาด แม่สอด พบพระ ท่าสองยาง และอุ้มผาง) จังหวัดแพร่ (อำเภอเด่นชัย) จังหวัดพิจิตร (อำเภอบางมูลนาก) จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอฟากท่า) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอบรรพตพิสัย) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอหนองขาหย่าง) ภาคตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดสระแก้ว (อำเภอวัฒนานคร) จังหวัดชลบุรี (อำเภอพานทอง) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แหลมสิงห์ และขลุง) จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด เกาะช้าง เขาสมิง เมืองตราด แหลมงอบ และคลองใหญ่) ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอ คลองท่อม เกาะลันตา เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอละงู) จังหวัดยะลา (อำเภอรามัน)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำบริเวณพื้นที่เขตภาษีเจริญ เขตวังทองหลวง และเขตสวนหลวง เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้ท่อระบายน้ำไหลได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ
สภาพอากาศ
ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมา ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารระดับสูงด้านการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ (Integrated Irrigation System) จากสำนักงานบริหารโครงการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการแห่งบาลูสถาน (The Balochistan Integrated Water Resources Management & Development Project or BIWRMD Project) แคว้นบาลูจิสถาน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Balochistan, Pakistan) รวมทั้งอาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากศูนย์เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT Artificial Intelligence Technology Center) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ในการวิเคราะห์ คาดการณ์สถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ สทนช. ตามแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ณ ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 อาคารจุฑามาศ สทนช. ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ