สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 มิ.ย. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกเล็กน้อยถึงหนักบริเวณ จ.ระนอง (57) จ.นครนายก (56) จ.อุบลราชธานี (53) จ.ลำปาง (50) จ.พระนครศรีอยุธยา (13) และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (6)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 42,924 ล้าน ลบ.ม. (52%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38,504 ล้าน ลบ.ม. (54%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นน้ำท่าจีนค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการโครงการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงกระจับเชื่อมต่อคลองไดตะโกเชื่อมต่อแม่น้ำป่าสัก พร้อมระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ต.บึงกระจับ อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ เพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตให้กับประชาชนในพื้นที่ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุเก็บกัก 2.0145 ล้านลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 450 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 920 ไร่
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ บริเวณ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ และตาก ภาคตะวันออก บริเวณ จ.จันทบุรี และตราด ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 66 นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการ สทนช. เป็นประธานการประชุมคณะทำงานระดับประเทศ โครงการร่วมการบริหารจัดการน้ำท่วม ภัยแล้ง ในพื้นที่ชายแดน (9C-9T) ระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 4 โดยมี ผู้แทนภาครัฐจากหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ จ.จันทบุรีและสระแก้ว ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนแนวทาง/มาตรการการบริหารจัดการน้ำท่วมและภัยแล้ง องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ของเยอรมัน (GIZ) ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ (ICEM) ผู้ทรงคุณวุฒิ และสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมแกรนด์เซ็นเตอร์พอยด์ ราชดำริ กรุงเทพมหานคร และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเสนอและร่วมหารือร่วมกัน สำหรับโครงการร่วมการบริหารจัดการน้ำท่วม ภัยแล้ง ในพื้นที่ชายแดน (9C-9T) ระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ปัจจุบันได้ดำเนินการมาถึงระยะที่ 3 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การนำแนวคิด NbS มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility; GEF) การส่งเสริมความเท่าเทียมมิติชายหญิงในการปฏิบัติ การจัดทำแบบจำลองอุทกวิทยา การปรับปรุงแผนที่ลุ่มน้ำ 9C-9T และการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของแนวคิด NbS ซึ่งกิจกรรมทั้งหมด จะมีการเสริมสร้างศักยภาพและการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำร่วมกันและเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำให้แก่พื้นที่ลุ่มน้ำชายแดนของทั้งสองประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กองทัพบก ทำการก่อสร้างฝายชะลอน้ำแบบคอกหมู ในพื้นที่หมู่บ้านโครงการฯ บ้านห้วยหญ้าไซ ตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เพื่อดักตะกอนดิน ป้องกันน้ำหลาก กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และเพิ่มความชุ่มชื้น ให้แก่ป่าต้นน้ำ
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ แต่ยังมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 42,925 ล้าน ลบ.ม. (52%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 38,504 ล้าน ลบ.ม. (54%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,664 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,757 ล้าน ลบ.ม. (35%) 3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,156 ล้าน ลบ.ม. (28%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 14,766 ล้าน ลบ.ม. (31%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 3,508 ล้าน ลบ.ม. (22%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,577 ล้าน ลบ.ม. (29%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานระดับประเทศ โครงการร่วมการบริหารจัดการน้ำท่วม ภัยแล้ง ในพื้นที่ชายแดน (9C-9T) ระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 4 ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการมาถึงระยะที่ 3 โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ คือ การนำแนวคิด NbS มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นข้อเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility; GEF) การส่งเสริมความเท่าเทียมมิติชายหญิงในการปฏิบัติ การจัดทำแบบจำลองอุทกวิทยา การปรับปรุงแผนที่ลุ่มน้ำ 9C-9T และการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของแนวคิด NbS ซึ่งกิจกรรมทั้งหมด จะมีการเสริมสร้างศักยภาพและการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารจัดการลุ่มน้ำร่วมกัน