สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 พ.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.กาฬสินธุ์ (80) จ.ตรัง (67) จ.ตราด (59) จ.เชียงราย (54) จ.สมุทรปราการ (38) จ.กาญจนบุรี (17)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,485 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,147 ล้าน ลบ.ม. (55%) คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน และแม่น้ำท่าจีนค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการแก้ไขตามการร้องขอแหล่งน้ำบาดาลของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งประสบปัญหาเรื่องคุณภาพน้ำไม่สะอาดและมีปริมาณไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้ง ในพื้นที่ ต.ย่านยาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านคุณภาพน้ำไม่เหมาะสมสำหรับการอุปโภคบริโภคและไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำ
พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำหลากช่วง 1-3 วัน ดังนี้ ภาคเหนือ บริเวณ จ.ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ จ.หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก บริเวณ จ.สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ บริเวณ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
กอนช. ติดตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
กรมชลประทาน ดำเนินการโครงการประตูระบายน้ำบ้านดอยอิสานพร้อมอาคารประกอบ เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ในพื้นที่ลุ่มน้ำอิง ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ตั้งอยู่ที่บ้านดอยอิสาน หมู่ที่ 2 ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา มีลักษณะเป็นประตูบานตรงรับน้ำ 2 ทาง จำนวน 6 ช่อง ความจุเก็บกักประมาณ 1 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 61 นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอีก 3 แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านดอยอิสาน ม.2 บ้านดอยอิสาน ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา พื้นที่ชลประทาน 1,900 ไร่ (ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2567-2568) สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านป่าตึงงาม 1 ม.6 บ้านม่อนป่ายางใต้ ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย พื้นที่ชลประทาน 2,100 ไร่ (ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2568-2569) สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านป่าตึงงาม 2 ม.3 หนองแรดใต้ ต.หนองแรด อ.เทิง จ.เชียงราย พื้นที่ชลประทาน 1,800 ไร่ (ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2568-2569) และยังมีแผนดำเนินการขุดลอกลำน้ำอิง พร้อมปรับปรุงแก้มลิงพร้อมอาคารประกอบในปี 2569 ทั้งนี้ หากโครงการฯแล้วเสร็จ จะช่วยบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนในพื้นที่ ต.หนองแรด เวียง และศรีดอนไชย อ.เทิง จ.เชียงราย และ ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา สามารถส่งน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรในฤดูฝนได้ประมาณ 12,000 ไร่ และฤดูแล้งได้ประมาณ 7,200 ไร่ ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในอนาคต
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า) ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน และปราณบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ)จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมชลประทาน ดำเนินการกำจัดวัชพืชผผักตบชวาที่กีดขวางน้ำ ด้วยเรือกำจัดวัชพืชขนาดเล็ก ณ บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า – อู่ทอง ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอสิงห์ จังหวัดชัยนาทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำ
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามและลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,485 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 39,047 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,680 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,758 ล้าน ลบ.ม. (35%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 5,447 ล้าน ลบ.ม. (30%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์กรมหาชน) (สสน.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) “ธัชวิทย์” กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามกรอบแนวทางการพัฒนา ธัชวิทย์ ในมิติที่ 1 การสร้างเครือข่ายคลังสมองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ (Frontline Think Tank) และนำเสนอผลงานคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติส่วนหน้า อว. (ภาคเหนือตอนบน)” นำร่อง เป็นคลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ เพื่อการใช้งานในระดับภาคแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้โครงการ “ธัชวิทย์” ซึ่งสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ในระดับลุ่มน้ำ จังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน มุ่งเน้นให้เกิดความพร้อมรับมือและปรับตัว ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนสร้างความมั่นคง และยั่งยืนด้านน้ำของประเทศ โดยเป็นการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่าง สสน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจังหวัดในภาคเหนือตอนบน จากปัญหาด้านน้ำของประเทศไทย