สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 26 พ.ค. 66
ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.น่าน (76) จ.มหาสารคาม (64) จ.ตราด (59) จ.นครศรีธรรมราช (41) จ.ชัยนาท (36) และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ (32)
ปริมาตรแหล่งน้ำทุกขนาด 43,592 ล้าน ลบ.ม. (53%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 39,147 ล้าน ลบ.ม. (55%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน และแม่น้ำท่าจีนค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน
กองทัพบก จัดกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกับ ประชาชน ในพื้นที่ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเก็บขยะบริเวณประตูระบายน้ำ
โยน Em ball และเทน้ำหมักชีวภาพ เพื่อป้องกันปัญหาจากขยะอุดตันประตูระบายน้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพน้ำในลำคลองให้สะอาดยิ่งขึ้น และปลูกจิตใต้สำนึกให้ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ณ สถานีสูบน้ำลำราง วัดกลาง เขตบางกะปิ กทม.
กอนช. ประกาศเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำนองไม่สามารถระบายได้ทัน ในช่วงวันที่ 27 พ.ค.–1 มิ.ย. 66 ได้แก่ จ.เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า) จ.เพชรบุรี (อ.ท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จ.ประจวบคีรีขันธ์ (อ.หัวหิน และปราณบุรี) จ.สุรินทร์ (อ.เมืองสุรินทร์) จ.บุรีรัมย์ (อ.เมืองบุรีรัมย์) จ.อุบลราชธานี (อ.เมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) จ.ชลบุรี (อ.เมืองชลบุรี) จ.ระยอง (อ.เมืองระยอง และแกลง) จ.จันทบุรี (อ.เมืองจันทบุรี) จ.ตราด (อ.เมืองตราด และเขาสมิง) จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ) จ.ระนอง (อ.กะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ) จ.พังงา (อ.กะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จ.ภูเก็ต (อ.กะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จ.กระบี่ (อ.เกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลอง และอ่าวลึก) จ.ตรัง (อ.เมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) และ จ.สตูล (อ.ทุ่งหว้า)
กรมเจ้าท่า ดำเนินการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช ภายใต้การบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวา ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเพื่อป้องกันการเกิดน้ำท่วมขังช่วงฤดูฝน โดยรับผิดชอบดำเนินการในแม่น้ำสายหลักท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท และท้ายเขื่อนพระราม 6 จ.สระบุรี ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 160 กม. แม่น้ำป่าสัก ระยะทาง 50 กม. แม่น้ำน้อย ระยะทาง 42 กม. แม่น้ำลพบุรี ระยะทาง 67 กม. และเหนือเขื่อนแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสะแกกรัง ระยะทาง 20 กม.แม่น้ำท่าจีนสายเก่า ระยะทาง 10 กม. และคลองสาขารวมระยะประมาณ 400 กม. โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 กรมเจ้าท่าได้รับงบประมาณในการกำจัดผักตบชวาจำนวน 658,000 ตัน ปัจจุบันได้ส่งเรือกำจัดผักตบชวาและวัชพืชแบบสายพานลำเลียง จำนวน 8 ลำ และชุดรถแบ็คโฮ 1 ชุด คิดเป็นผลงานสะสม ณ 22 พ.ค. 66 รวม 421,262 ตัน คิดเป็นร้อยละ 64.02 เร็วกว่าแผนร้อยละ 7.08 และคาดว่าจะแล้วเสร็จตามแผนงานได้ภายในเดือน ก.ย. 66
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก ในช่วงวันที่ 27 พ.ค. – 1 มิ.ย. 2566 โดยมีผลกระทบกับ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า) ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอท่ายาง บ้านลาด และเมืองเพชรบุรี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอหัวหิน และปราณบุรี) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์) จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี และพิบูลมังสาหาร) ภาคตะวันออก ได้แก่จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี) จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง และแกลง) จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี) จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด และเขาสมิง) และ ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดชุมพร (อำเภอพะโต๊ะ) จังหวัดระนอง(อำเภอกะเปอร์ เมืองระนอง และสุขสำราญ)จังหวัดพังงา (อำเภอกะปง คุระบุรี ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง) จังหวัดภูเก็ต (อำเภอกะทู้ ถลาง และเมืองภูเก็ต) จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา คลองท่อม เมืองกระบี่ เหนือคลองและอ่าวลึก) จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง และปะเหลียน) จังหวัดสตูล (อำเภอทุ่งหว้า)
ผลการดำเนินงานตาม 12 มาตรการ รองรับฤดูฝน ปี 2566
กรมเจ้าท่า ดำเนินการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงตำบลโคกช้าง ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร คลองสาขาแม่น้ำน้อย ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำลพบุรี ช่วงตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงบึงหาดกองสิน อำเภอเมืองชัยนาทจังหวัดชัยนาท และคลองป่าแสก ตำบลสวนแตง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันกำจัดผักตบชวาทั้งสิ้นรวม 421,262 ตัน และคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานได้ภายในเดือนกันยายน 2566
สภาพอากาศ
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก แต่ยังคงมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
4.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำ 43,592 ล้าน ลบ.ม. (53%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง มีปริมาณน้ำ 39,147 ล้าน ลบ.ม. (55%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,687 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,758 ล้าน ลบ.ม. (35%)4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,495 ล้าน ลบ.ม. (30%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สทนช. ร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นต่อร่างเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดจันทบุรี 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585)ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมนิวแทรเวิลลอด์จ อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยมีทีมวิทยากรจากจุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดร่างเป้าหมายการพัฒนาซึ่งในการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดระยะ 20 ปี เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ในอนาคต โดยผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็น “จันทบุรี มหานครผลไม้เขตร้อน เมืองน่าอยู่บนฐานภูมินิเวศยั่งยืน เศรษฐกิจมูลค่าสูง และท่องเที่ยวสร้างสรรค์เชิงนิเวศ