สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 พ.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางถึงหนักบริเวณ จ.ลำปาง (68 มม.) จ.สงขลา (39 มม.) และ จ.พังงา (35 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 20,150 ล้าน ลบ.ม. (35%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 16,114 ล้าน ลบ.ม. (34%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ซ่อมแซมติดตั้งตู้ควบคุมพร้อมแนะนำวิธีการใช้งานระบบให้แก่ผู้ดูแลระบบโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ รร.ตำรวจตระเวนชายแดนบ้านไทยเสรี ต.เซกา อ.เซกา จ.บึงกาฬ เพื่อให้คณะครูและนักเรียนมีน้ำอุปโภคใช้บริโภคได้ตามปกติและดำเนินการตรวจเช็คระบบประปาบาดาลที่ไม่สามารถใช้การได้พร้อมดำเนินการซ่อมแซมให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ในพื้นที่ บ้านหนองบัวขาว หมู่ที่ 5 ต.เขาสามยอด อ.เมือง จ.ลพบุรี ภายใต้ โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีพ.ศ. 2564/2565กอนช. เตรียมพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศการเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทยพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูร้อนและเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูฝนในวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 ผลการคาดการณ์สภาพอากาศพบว่า จะมีฝนตกชุกหนาแน่นและต่อเนื่องครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ประกอบกับลมที่พัดปกคลุมประเทศไทยที่ระดับผิวพื้นถึงความสูงประมาณ 3.5 กิโลเมตร ได้เปลี่ยนทิศเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งจะพัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และลมชั้นบนตั้งแต่ระดับความสูง 5 กิโลเมตรขึ้นไปได้เปลี่ยนทิศเป็นลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้ จะน้อยกว่าค่าปกติเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 5 และน้อยกว่าปี 2565 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคมจะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง อาจส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำด้านการเกษตรได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับฤดูฝนของประเทศไทยตอนบนจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม ส่วนภาคใต้โดยเฉพาะฝั่งตะวันออกจะมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไปอีกจนถึงกลางเดือนมกราคมกอนช. เน้นย้ำหน่วยงานดำเนินการตาม 12 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 อย่างเคร่งครัด พร้อมเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด ป้องกันปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคต รับมือสภาวะฝนทิ้งช่วง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน และชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 6 นาย พร้อมทั้งรถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 1 คัน ดำเนินการแจกจ่ายน้ำอุปโภค จำนวน 1 เที่ยว ปริมาณน้ำ 6,000 ลิตร ให้กับประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากมีน้ำไม่เพียงพอ ณ หมู่ 7 บ้านหนองอึ่ง ตำบลนายูง อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี
สภาพอากาศ
ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 21 – 24 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 20,150 ล้าน ลบ.ม. (35%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 16,092 ล้าน ลบ.ม. (34%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,313 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,745 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,757 ล้าน ลบ.ม. (32%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,024ล้าน ลบ.ม. (34%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 2,149 ล้าน ลบ.ม. (14%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 956ล้าน ลบ.ม. (17%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำในระดับลุ่มน้ำแม่กลอง ณ โรงแรมเวสเทิร์นแกรนด์โฮเท็ล อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรผู้ใช้น้ำพร้อมทั้งเป็นการสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และสร้างเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำในระดับลุ่มน้ำต่อไป