สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 17 พ.ค. 66

ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (102 มม.) จ.ระนอง (84 มม.) และ จ.สุราษฎร์ธานี (79 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 16,375 ล้าน ลบ.ม. (35%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 20,435 ล้าน ลบ.ม. (35%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตาม ตรวจสอบ และซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาล ภายใต้ “โครงการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน โดยประชาชนมีส่วนร่วม (CSR)“ ณ วัดป่าถ้ำภูเตย ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และภายใต้ “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557” ณ โรงเรียนวัดแก้ว ตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
สทนช.ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2566 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตสวนหลวง เบื้องต้น สทนช.จะเร่งรัดดำเนินการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ให้ดำเนินการ ดังนี้
ให้สำนักงานเขตสวนหลวงและสำนักการระบายน้ำร่วมทำประชาวิจารณ์ชุมชนหมู่บ้านเกษราในการยกระดับถนนและเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำ ช่วงที่เป็นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน
ประสานการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาจัดทำรางระบายน้ำขนานทางรถไฟ เพื่อดักน้ำไม่ให้ไหลเข้าหมู่บ้านเกษราและเป็นการเร่งระบายน้ำลงสู่คลองลาว และสร้างประตูควบคุมการระบายน้ำป้องกันน้ำจากคลองลาวไหลย้อน พร้อมขอให้ สำนักงานเขตส่วนหลวงติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำช่วงระดับน้ำในคลองลาวสูงกว่ารางระบายน้ำจากนั้น เลขาธิการ สทนช. เดินทางต่อไปยังสถานีสูบน้ำพระโขนง เพื่อตรวจติดตามความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำ และการระบายน้ำ เพื่อป้องกันผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ทั้งนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้เน้นย้ำให้สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 ดังนี้

ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการตรวจเช็คระบบประปาบาดาลที่ชำรุด พร้อมซ่อมแซมบำรุงรักษา ความชำรุดบกพร่อง ภายใต้ “โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่แล้งซ้ำซากและมีปัญหาคุณภาพน้ำเค็ม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562” ในพื้นที่บ้านโยธะกา หมู่ที่ 9 ตำบลบางเตย อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
สภาพอากาศ
ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 20,435 ล้าน ลบ.ม. (35%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 16,351 ล้าน ลบ.ม. (34%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,340 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,745 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 5,849 ล้าน ลบ.ม. (32%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,282ล้าน ลบ.ม. (34%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,839 ล้าน ลบ.ม. (12%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 822ล้าน ลบ.ม. (15%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และคณะ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานครและการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่ติดตามความพร้อมการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยได้มอบหมายให้สำนักงานเขตสวนหลวงและสำนักการระบายน้ำร่วมทำประชาพิจารณ์ชุมชนหมู่บ้านเกษราในการยกระดับถนนและเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำช่วงที่เป็นที่สาธารณประโยชน์ เพื่อแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วน และ สทนช. ประสานการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณาจัดทำรางระบายน้ำขนานทางรถไฟเพื่อดักน้ำไม่ให้ไหลเข้าหมู่บ้านเกษราและเป็นการเร่งระบายน้ำลงสู่คลองลาว รวมถึงสร้างประตูควบคุมการระบายน้ำป้องกันน้ำจากคลองลาวไหลย้อนพร้อมขอให้สำนักงานเขตส่วนหลวงติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำกรณีที่ระดับน้ำในคลองลาวสูงกว่ารางระบายน้ำ