สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 พ.ค. 66 เวลา
ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.สิงห์บุรี (127 มม.) จ.พะเยา (118 มม.) และ จ.ยะลา (108 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 16,840 ล้าน ลบ.ม. (35%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 20,914 ล้าน ลบ.ม. (36%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี ยกเว้นแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา นำกำลังพลจิตอาสาพระราชทาน และรถขุดตักแขนยาว จำนวน 1 คัน ร่วมกับ ส่วนราชการในพื้นที่อำเภอวังยาง และประชาชนจิตอาสาในพื้นที่ ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาขุดลอกคูคลอง กำจัดวัชพืช เก็บผักตบชวา รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน ในพื้นที่ลำห้วยยาง บ้านยอดชาด ม.2 ต.ยอดชาด อ.วังยาง จ.นครพนม
กอนช. ประเมินสถานการณ์น้ำเตรียมเข้าสู่ฤดูฝน 2566 วางแผนระยะยาวกักเก็บน้ำให้มากที่สุดรับมือเอลนีโญดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานประเมินสถานการณ์น้ำครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2566 เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำก่อนประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ค. 2566ที่ประชุมได้เน้นย้ำในเรื่องของการกักเก็บน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ดังนี้กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้ฝนคาดการณ์แบบค่าฝนน้อยมาประเมินเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง สำหรับสนับสนุนการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2566 รณรงค์ในเรื่องของการประหยัดน้ำ และส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยให้กับเกษตรกรขอให้ประชาชนประสานงานกับภาครัฐอย่างใกล้ชิดในการวางแผนการเพาะปลูก เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมเต็มปริมาณน้ำในพื้นที่การเกษตรของประชาชนกอนช. ได้มีการแจ้งเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ แต่ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนกักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีน้ำสำหรับรองรับสถานการณ์ในช่วงฝนทิ้งช่วง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กองทัพบก สนับสนุนโครงการจิตอาสา “ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง” ดำเนินการช่วยเหลือพร้อมรถบรรทุกน้ำ ขนาด 6,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในครัวเรือน ในพื้นที่รอบค่ายฯ บ้านบ้านสารภี ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ตามโครงการฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน
ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
สภาพอากาศ
ในช่วงวันที่ 11 – 15 พ.ค. 66 พายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนในระยะต่อไป คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศบังคลาเทศและเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-14 พ.ค. 66 บริเวณประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่ฝนฟ้าคะนองสูงมากกว่า 2 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 20,914 ล้าน ลบ.ม. (36%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 16,816 ล้าน ลบ.ม. (35%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,354 ล้าน ลบ.ม. (46%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,745 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,050 ล้าน ลบ.ม. (33%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 16,749 ล้าน ลบ.ม. (35%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 1,171 ล้าน ลบ.ม. (7%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,499 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 521 ล้าน ลบ.ม. (9%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชุมคณะทำงานด้านประเมินสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2566 โดยผลการประเมินสถานการณ์ ประกอบด้วย การคาดการณ์ประเทศไทยจะเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน พ.ค. การติดตามปรากฎการณ์เอนโซ (ENSO) พบว่าจะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ตั้งแต่ เดือน มิ.ย. 66เป็นต้นไป ดังนั้น ปริมาณฝนในปีนี้จึงมีแนวโน้มต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อย และคาดว่าจะเกิดฝนทิ้งช่วงประมาณช่วงเดือน มิ.ย. 66 จึงต้องมีการวางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์หากมีปริมาณฝนน้อย โดยที่ประชุมเน้นการวางแผนระยะยาว โดยใช้หลักการบริหารและคาดการณ์ล่วงหน้าสองปีจนถึงปี 2567 เพื่อให้มีปริมาณน้ำในช่วงต้นฤดูแล้งมากที่สุดโดยเน้นย้ำในเรื่องของการกักเก็บน้ำเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำ สำหรับประเมินการเพาะปลูก ปีนี้สามารถรับรองการเพาะปลูกให้แก่เกษตรกรได้ จำนวน 1 รอบการเพาะปลูก ทั้งนี้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติจะต้องมีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นและบริหารจัดการน้ำร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด