สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัด มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช (99 มม.) จ.นราธิวาส(51 มม.) และ จ.ตรัง (46 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 21,415 ล้าน ลบ.ม. (37%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 17,303 ล้าน ลบ.ม. (36%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 7 พ.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัด มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง
สทนช. ลงพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรฤดูแล้ง จ.ชัยนาทวานนี้ (6 พ.ค. 66) ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่รับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรฤดูแล้งในพื้นที่ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานหิน และเกษตรกรในพื้นที่ ต.สะพานหิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่มีรายได้หลักจากการปลูกข้าว จึงทำให้ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกร โดยในพื้นที่ดังกล่าวได้มีการเพิ่มอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อทางเลือกให้กับเกษตรกรซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปริมาณในการใช้น้ำ และลดความเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนน้ำเกษตรนาข้าวแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรอีกทางหนึ่งทั้งนี้ สทนช. จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อวางกรอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น พร้อมเร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งต่ออาชีพเกษตรกรโดยเร็วต่อไป
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการตรวจสอบและซ่อมบำรุงรักษาระบบประปาบาดาลของโครงการฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ณ อบต.องครักษ์อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อเสริมความมั่นคงระดับชุมชน ณ บ้านห้วยรวก หมู่ที่ 6 ต.หนองฝ้าย อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่บริเวณประเทศไทยตอนบน ทั้งนี้เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 21,415 ล้าน ลบ.ม. (37%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 17,276 ล้าน ลบ.ม. (36%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,394 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,746 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,268 ล้าน ลบ.ม. (34%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 17,209 ล้าน ลบ.ม. (36%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 712 ล้าน ลบ.ม. (5%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 315 ล้าน ลบ.ม. (6%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (6 พ.ค.66) ดร. สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะพานหิน และเกษตรกรในพื้นที่ ต.สะพานหิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท เพื่อรับฟังปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถึงแนวทางการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำนาซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อรายได้ของเกษตรกร โดยพื้นที่ดังกล่าวได้มีการเพิ่มอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกรในชุมชนโดยการเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ ลดความเสี่ยงจากการทำนา แล้วยังลดปริมาณในการใช้น้ำอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้รับฟังปัญหาจากการเลี้ยงโคที่ยังขาดแคลนน้ำในการปลูกหญ้าเลี้ยงโคเฉพาะช่วงฤดูแล้ง โดย สทนช. จะนำข้อมูลที่ได้ไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนการพัฒนาทรัพยากรน้ำในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งต่ออาชีพเกษตรกรโดยเร็วต่อไป