สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 6 พ.ค. 66

ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน มีฝนน้อยแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณ จ.นราธิวาส (158 มม.) จ.ตรัง (93 มม.) และ จ.สงขลา (87 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 21,537 ล้าน ลบ.ม. (37%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 17,415 ล้าน ลบ.ม. (36%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กอนช. เร่งหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงเดือน พ.ค.–ก.ค. 66 อาจเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้มีฝนตกน้อยกว่าปกติ และอาจทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำได้ในหลายพื้นที่ กอนช. ได้ติดตามหน่วยงานวางแผนบริหารจัดการน้ำ เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยกรมชลประทาน ได้วางแผนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่ภาคตะวันออก โครงข่ายน้ำเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำประแสร์ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำประแสร์เป็นศูนย์กลางของการผันน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค น้ำเพื่อการเกษตร และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปัจจุบัน (วันที่ 5 พ.ค. 66) อ่างเก็บน้ำประแสร์ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ ประมาณ 203 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 69% ของความจุอ่างฯ สามารถส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านน้ำอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ พร้อมทั้งได้จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ เพื่อสนับสนุนน้ำจากแหล่งน้ำให้กับพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำ รวมถึงติดตามตรวจสอบอาคารชลประทาน สถานีสูบน้ำ และระบบส่งน้ำให้สามารถใช้งานและส่งน้ำให้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนให้มากที่สุดทั้งนี้ กอนช. เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานวางแผนการใช้น้ำที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดย สทนช. จะติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อวางกรอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 6 พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้ 10 มาตรการ รองรับฤดูแล้งปี 2565/ 2566 ณ สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค เขต 10 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัตนครสวรรค์ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งในระยะสั้น/ระยะยาว ที่สามารถให้บริการน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภค-บริโภค
แก่ประชาชน
สภาพอากาศ
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว โดยจะมีฝนน้อยแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนซึ่งมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 21,537 ล้าน ลบ.ม. (37%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 17,387 ล้าน ลบ.ม. (36%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,404 ล้าน ลบ.ม. (47%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,746 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,320 ล้าน ลบ.ม. (35%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ค. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 17,319 ล้าน ลบ.ม. (37%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 15,701 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 596 ล้าน ลบ.ม. (4%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 5,500 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 263 ล้าน ลบ.ม. (5%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
การประปานครหลวง ลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการจัดการการศึกษาด้านอาชีวศึกษา”ร่วมกับ วิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธน และวิทยาลัยกรุงธนเชียงราย ไทย-เยอรมัน และ “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อการจัดการการศึกษาด้านระบบผลิตน้ำประปา” ร่วมกับ วิทยาลัยเชียงราย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษา สนับสนุนการเรียนการสอน สนับสนุนงานวิจัย และงานนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบประปา ของนักเรียนนักศึกษาสำหรับสถาบันการศึกษาทั้ง 3 หน่วยงาน นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากร เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ทางด้านงานประปา สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการในปัจจุบัน