สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 2 พ.ค. 66 เวลา
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองส่วนภาคใต้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.แพร่ (61 มม.) จ.น่าน (57 มม.) และ จ.เชียงราย (56 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 22,053 ล้าน ลบ.ม. (37%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 17,890 ล้าน ลบ.ม. (38%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดผลการเบิกจ่ายโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำคลองหนองปลิง ต.บ้านใหม่คลองเคียน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี เพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตให้กับประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุเก็บกัก 0.4955 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 80 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 350 ไร่กอนช. ติดตามหน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566กรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับฝน ให้ท่อระบายน้ำไหลได้สะดวก รวดเร็ว ไม่อุดตัน โดยได้ดำเนินการในหลายจุด อาทิ
ซ.เพชรเกษม 22/1 และซอยเพชรเกษม 24 พื้นที่เขตภาษีเจริญ
ถ.กำแพงเพชร 1 ถึง ถ.วิภาวดีรังสิต พื้นที่เขตจตุจักร
ถ.พระราม 9 พื้นที่เขตห้วยขวาง
ถ.สามเสน ถึง ถ.สวรรคโลก พื้นที่เขตดุสิต
ซ.นวลจันทร์ 17 ถึง ซ.นวลจันทร์ 23 พื้นที่เขตบึงกุ่มดำเนินการขุดลอกคลองบางชัน เขตคันนายาวและเขตคลองสามวาเริ่มตั้งแต่ สน.คันนายาว ถึง ถ.เสรีไทย ความยาว 7,700 ม.
เพื่อเป็นการรองรับน้ำฝน ในฤดูฝนปี 2566 ที่จะมาถึง ซึ่งคลองบางชันเป็นคลองที่เชื่อคลองพระยาสุเรนทร์ไหลลงสู่คลองแสนแสบเมื่อดำเนินการขุดลอกเสร็จ จะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตคลองสามวาและพื้นที่เขตคันนายาว โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนฤดูฝนนี้ดำเนินการขุดลอกคลองหลอแหล สำรวจการตรวจระดับท้องคลอง โดยใช้เครื่อง Echo sounder ได้ดำเนินการขุดลอกคลองหลอแหลจากคลองบางชันถึงคลองแสนแสบ ความยาว 1,400 ม. ซึ่งคลองหลอแหลเป็นคลองที่เชื่อมต่อจากคลองบางชันไหลลงสู่คลองแสนแสบเพื่อเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่เขตคันนายาวโดยจะดำเนินการขุดลอกแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2566ทั้งนี้กรุงเทพมหานคร ได้เร่งรัดขุดลอกคลอง ทั้งหมดเพื่อเตรียมพร้อม สำหรับฤดูฝนที่จะถึงในปีนี้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ พฤษภาคม 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาการขาดแคลนน้ำบริเวณพื้นที่ อบต. สะพานหิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อการปศุสัตว์ และเกษตรกรรม โดยเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของแหล่งน้ำเดิมด้วยการเพิ่มความจุเก็บกักน้ำ ก่อสร้างระบบส่งน้ำ ขุดลอกคูคลอง ซ่อม/ปรับปรุงฝาย และประตูน้ำเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่มีศักยภาพน้ำใต้ดิน รวมถึงแนะนำแนวทางการเสนอขอรับการสนับสนุนงบงประมาณผ่านระบบ TWP (Thai Water Plan) ต่อไป
1.2 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ซ่อมแซมโรงกรองน้ำระบบ RO และระบบประปาบาดาลตามโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ณ โรงเรียนบ้านใหม่ หมู่ที่ 2 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้คณะครูและนักเรียนจำนวน 172 คน และประชาชนในหมู่บ้าน
กว่า 500 คน มีน้ำอุปโภคใช้บริโภคได้ตามปกติ
สภาพอากาศ
ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน โดยมีลักษณะฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ทั้งนี้บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน สำหรับลมตะวันออกได้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 22,053 ล้าน ลบ.ม. (38%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 17,859 ล้าน ลบ.ม. (37%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,447 ล้าน ลบ.ม. (48%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,746 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,542 ล้าน ลบ.ม. (36%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 17,898 ล้าน ลบ.ม. (38%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 20,237 ล้าน ลบ.ม. (92%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 8,285 ล้าน ลบ.ม. (96%)