สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 27 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักมากบริเวณ จ.เชียงราย (115 มม.) จ.ลพบุรี (106 มม.) และ จ.สุโขทัย (102 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 22,893 ล้าน ลบ.ม. (39%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 18,530 ล้าน ลบ.ม. (39%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ สำรวจความเหมาะสมของสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดหาแหล่งน้ำสะอาดเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ในพื้นที่ รร.บ้านม่วงพิทยาคม ต.ม่วง อ.บ้านม่วง จ.สกลนคร ทั้งนี้หากพบว่ามีความเหมาะสมด้านศักยภาพน้ำบาดาล จะเร่งดำเนินการจัดสร้างบ่อน้ำบาดาลและระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำต่อไปพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สั่งเข้ม 10 มาตรการย้ำเร่งเก็บกักน้ำช่วงฝนให้มากที่สุดเพื่อแก้แล้งวานนี้ (26 เม.ย.66) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า จากการติดตามผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 ที่หน่วยงานต่างๆ ได้ บูรณาการการทำงานร่วมกัน พบว่า สามารถป้องกันและบรรเทาผลกระทบช่วงแล้งให้กับพี่น้องประชาชนได้เป็นอย่างดี การบริหารจัดการน้ำในภาพรวมยังเป็นไปตามแผนโดย สทนช. จะยังคงติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์แล้งร่วมกับหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ ของพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำใน4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.การผลิตน้ำประปา 2.การเกษตรนอกเขตชลประทาน 3.กลุ่มไม้ผลที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 4. ด้านคุณภาพน้ำ (น้ำเค็ม) จนกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้งนี้ หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำยังคงต้องเคร่งครัดการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผน จนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมนี้กอนช. ได้รายงานสถานการณ์น้ำในปีนี้ที่คาดว่าจะมีแนวโน้มประสบปัญหาแล้ง จากปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” ในช่วงเดือนกรกฎาคมจนกระทั่งถึงปลายปี ซึ่งอาจทำให้มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกติในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ผลกระทบต่อประชาชน ได้สั่งการให้ สทนช.เร่งหารือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่มีแนวโน้มปริมาณฝนน้อย รวมถึงการเร่งขับเคลื่อน 10 มาตรการรับมือฤดูแล้งปี 2565/2566 ที่มีแผนงาน โครงการรองรับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชน ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อม 12 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2566 ด้วย
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 27 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
1.1 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จัดกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัยพร้อมรถราดน้ำอเนกประสงค์ บรรจุน้ำ 12,000 ลิตร ร่วมกับ อบต.โนนหอม ดำเนินการแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนที่ประสบภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือนร้อน โดยมีผู้ได้รับผลประโยชน์ 330 ครัวเรือน ประชาชน 1,020 คน ณ บ.คำผักแพว ต.โนนหอม อ.เมือง จ.สกลนคร
1.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนรถบรรทุกเครื่องสูบน้ำระยะไกลพร้อมเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการสูบน้ำจากบ่อน้ำในพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรีจ.ปราจีนบุรี ไปยังแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาชุมชนเขตเทศบาลตำบลสระบัว อ.กบินทร์บุรี โดยมีระยะทางสูบส่งน้ำประมาณ 2,300 เมตร ปริมาณน้ำที่สูบประมาณ 37,800 ลบ.ม. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่
สภาพอากาศ
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และทะเลจีนใต้ ทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 22,748 ล้าน ลบ.ม. (39%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 18,496 ล้าน ลบ.ม. (39%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,505 ล้าน ลบ.ม. (49%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,747 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 6,827 ล้าน ลบ.ม. (38%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,421 ล้าน ลบ.ม. (39%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,739 ล้าน ลบ.ม. (90%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 8,079 ล้าน ลบ.ม. (94%)