สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 25 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ในขณะที่ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.แพร่ (58 มม.) จ.ระยอง (49 มม.) และ จ.พังงา (40 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 23,017 ล้าน ลบ.ม. (40%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 18,794 ล้าน ลบ.ม. (39%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน วันที่ 25-26 เม.ย. 66 ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
กอนช. เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขง คาดการณ์ระดับน้ำจะเพิ่มสูงขึ้น
กอนช. ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำโขง พบว่า แม่น้ำโขงบริเวณสถานีวัดน้ำจิ่งหง (จีน) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นประมาณ 584 ลบ.ม./วินาที (ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 0.89 ม.) จากเดิมเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 66 มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 816 ลบ.ม./วินาที และวานนี้ (24 เม.ย. 66) มีปริมาณน้ำไหลผ่านเพิ่มขึ้นเป็น 1,400 ลบ.ม./วินาที ผลวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำดังกล่าว คาดว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงฝั่งไทยอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
บริเวณสถานีวัดน้ำเชียงแสน จ.เชียงราย คาดว่าระดับน้ำเพิ่มขึ้นทันทีประมาณ 0.6–0.8 ม. ในช่วงวันที่ 26–27 เม.ย. 66
บริเวณสถานีวัดน้ำเชียงคาน จ.เลย คาดว่าระดับน้ำเพิ่มประมาณ 0.55–0.75 ม. ในช่วงวันที่ 27–28 เม.ย. 66
บริเวณสถานีวัดน้ำหนองคาย จ.หนองคาย ถึง สถานีโขงเจียม จ.อุบลราชธานี คาดว่าระดับน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 0.55 – 0.75 ม. ในช่วงวันที่ 29 เม.ย. – 2 พ.ค. 66
ทั้งนี้ กอนช. ขอให้ จ.นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี โปรดประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงและแจ้งเตือนให้ประชาชนผู้ที่อาศัยในบริเวณในบริเวณพื้นที่แม่น้ำโขง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และเตรียมการเฝ้าระวังผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 25 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ติดตามและตรวจสอบการใช้งานระบบประปาบาดาล ณ องค์การบริหารส่วนตำบลคำชะอี ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
สภาพอากาศ
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 23,017 ล้าน ลบ.ม. (40%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 18,758 ล้าน ลบ.ม. (39%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,511 ล้าน ลบ.ม. (49%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,747 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 6,942 ล้าน ลบ.ม. (38%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน) 4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 18,682 ล้าน ลบ.ม. (39%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 19,481 ล้าน ลบ.ม. (89%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,975 ล้าน ลบ.ม. (93%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
วานนี้ (24 เม.ย. 66) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สำหรับการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ ณ โรงแรมเอบีน่า เฮ้าส์ เขตหลักสี่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้กับบุคลากรของ สทนช. ในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวประเมินสภาพน้ำท่าและการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำได้ตามหลักวิชาการ และคาดการณ์สถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีหัวข้อการฝึกอบรม ได้แก่ ทฤษฎีพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) สำหรับการประยุกต์ใช้ในการประเมินสภาพน้ำท่าและคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์น้ำท่า รวมทั้งการแบ่งกลุ่มเพื่อฝึกปฏิบัติ โดยใช้ข้อมูลจริง
ในแต่ละพื้นที่