สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 12 เม.ย. 66
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.นครราชสีมา (29 มม.) จ.เลย (15 มม.) และ จ.พระนครศรีอยุธยา (13 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 25,061 ล้าน ลบ.ม. (43%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 20,588 ล้าน ลบ.ม. (43%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ดำเนินการช่วยเหลือ ส่งมอบโครงการงานสร้างประปาภูเขา ระยะทาง 3,150 ม. พร้อมถังปรับแรงดัน ขนาด 9 ลบ.ม. จำนวน 1 แห่ง และถังเก็บน้ำขนาด 50 ลบ.ม. จำนวน 1 ถัง ประชาชนได้รับประโยชน์ 162 ครัวเรือน 469 คนในพื้นที่บ้านแม่เกาะ ม.3 ต.แม่คะตวน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
กอนช.ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำภาคอีสานกำชับหน่วยงานเตรียมแผนสำรอง-วางแผนระยะยาว ลดผลกระทบประชาชนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ โดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 3 ลงพื้นที่ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการบริหารจัดการน้ำช่วงฤดูแล้งนี้ ให้เป็นไปตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/66 อย่างเคร่งครัด จากการติดตามปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่าปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ ยังคงเพียงพอต่อการใช้น้ำจนสิ้นสุดฤดูแล้ง (30 เม.ย. 66) และพอเพียงจนถึงต้นฤดูฝน (1 พ.ค.-31 ก.ค. 66) รวมทั้งได้จัดทำแผนสำรองไว้ในกรณีที่ปริมาณการใช้น้ำไม่เป็นไปตามแผนนอกจากนี้ สทนช. ยังได้ติดตามเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภคในเขตการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) พบว่ากปภ.สาขาสว่างแดนดิน ประสบปัญหาแหล่งน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องมีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำดิบสำรอง คาดว่าปริมาณน้ำจะสามารถใช้ได้จนถึงสิ้นสุดเดือน พ.ค. 66 และได้เตรียมแผนสำรองในการรับน้ำจาก กปภ.สาขาอุดรธานี มาช่วยจ่ายน้ำประปาเพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภคใช้ได้ตามปกติ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งนี้ สทนช. ยังได้ให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในระยะยาวเพื่อไม่ให้ประสบปัญหาซ้ำซาก พร้อมขอความร่วมมือประชาชนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอตลอดฤดูแล้ง
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 12 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
กองทัพบก จัดกำลังพลจิตอาสาร่วมกับผู้นำชุมชน ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในการแจกจ่ายน้ำ จำนวน 18,000 ลิตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคและบริโภค ณ หมู่ 8 ต.ท่าแค อ.เมือง จ.ลพบุรี
สภาพอากาศ
ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก จึงขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด และระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ภาคใต้ตอนล่าง และทะเลอันดามันทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 25,061 ล้าน ลบ.ม. (43%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,541 ล้าน ลบ.ม. (43%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,771 ล้าน ลบ.ม. (55%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,750 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 7,713 ล้าน ลบ.ม. (42%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน) 4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 20,456 ล้าน ลบ.ม. (43%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 17,784 ล้าน ลบ.ม. (81%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,314 ล้าน ลบ.ม. (85%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งมอบโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาแล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม ณ บ้านบ่อตะกั่ว ตำบลท่าแลง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ให้กับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น โดยมีผู้นำชุมชนและประชาชนผู้ใช้น้ำเข้าร่วม จำนวน 200 คน มีประชากรได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งสิ้น จำนวน 7,000 คน