สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 11 เม.ย. 66
ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ มีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกปานกลางบริเวณ จ.ตาก (27 มม.) จ.นครราชสีมา (16 มม.) และ จ.กาญจนบุรี (14 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 25,224 ล้าน ลบ.ม. (44%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 20,728 ล้าน ลบ.ม. (43%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
แผนและผล จัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2565/2566
4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา มีแผนสะสมรายวัน 7,726 ล้าน ลบ.ม.(90%) มีผลสะสมรายวัน 7,263 ล้าน ลบ.ม.(84%) (น้อยกว่าแผน 463 ล้าน ลบ.ม.)
ลุ่มน้ำแม่กลอง มีแผนสะสมรายวัน 4,389 ล้าน ลบ.ม.(85%) มีผลสะสมรายวัน 3,981 ล้าน ลบ.ม.(78%) (น้อยกว่าแผน 408 ล้าน ลบ.ม.)
ลุ่มน้ำโขง-ชี-มูล มีแผนสะสมรายวัน 3,065 ล้าน ลบ.ม.(94%) มีผลสะสมรายวัน 2,706 ล้าน ลบ.ม.(83%) (น้อยกว่าแผน 359 ล้าน ลบ.ม.)
พื้นที่ EEC มีแผนสะสมรายวัน 301 ล้าน ลบ.ม.(88%) มีผลสะสมรายวัน 197 ล้าน ลบ.ม. (58%) (น้อยกว่าแผน 104 ล้าน ลบ.ม.) +กอนช. ติดตาม หน่วยงานเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ดังนี้
1.ตรวจสอบระบบระบายน้ำแนวพื้นที่เขตประเวศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ช่วงฤดูฝนนี้ ดังนี้ – ประตูระบายน้ำคลองตาสาด – บ่อสูบน้ำคลองขวาง – ประตูระบายน้ำคลองตาช้าง – ประตูระบายน้ำคลองหนองบอน
2.ตรวจสอบระบบคลอง ตามแนวรอยต่อกรุงเทพมหานคร – สมุทรปราการ ดังนี้
คลองหนองบอน
คลองปลัดเปรียง
คลองต้นตาล
3. ตรวจสอบระบบระบายน้ำภายในหมู่บ้านสัมมากร พื้นที่
เขตสะพานสูง บริเวณสถานีสูบน้ำบึงที่ 1 ถึงสถานีสูบน้ำบึงที่ 4 เพื่อระบายน้ำออกสู่คลองหัวหมาก คลองบ้านม้า และคลองสะพานสูง
4.เก็บขยะและวัชพืช ให้น้ำไหลได้สะดวก ไม่มีขยะและวัชพืช
กีดขวางทางน้ำไหล โดยได้ดำเนินการในหลายจุด อาทิ
คลองปักหลัก 2 ช่วงถนนกาญจนาภิเษกมอเตอร์เวย์
ฝั่งตะวันออก พื้นที่เขตประเวศ
คลองแสนแสบ ช่วงแยกคลองแตงโม พื้นที่เขตหนองจอก
คลองสามวา ช่วงหทัยราษฎร์ 14 พื้นที่เขตคลองสามวา
คลองประเวศบุรีรมย์ ช่วงแม็คโคร พื้นที่เขตลาดกระบัง
คลองเสาหิน ช่วงถนนรัชดาตัดถนนนนทรี พื้นที่เขตยานนาวา
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 11 เมษายน 2566 ดังนี้
ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เดินทางตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานโครงการจัดหานำกินนำใช้ ณ บ.น้ำทองน้อย ม.9 ต.บ้านดง อ.ชาติตระการ และ บ.โคกใหญ่ ม.6 ต.สวนเมี่ยง อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
สภาพอากาศ
บริเวณความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในบริเวณภาคเหนือ และภาคกลางในขณะที่ลมใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วยส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 25,224 ล้าน ลบ.ม. (44%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,680 ล้าน ลบ.ม. (43%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 2,793 ล้าน ลบ.ม. (55%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 1,751 ล้าน ลบ.ม. (34%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ)ปริมาณน้ำใช้การ 7,713 ล้าน ลบ.ม. (42%)
ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน) 4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 20,594 ล้าน ลบ.ม. (43%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 17,651 ล้าน ลบ.ม. (81%) 4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 7,263 ล้าน ลบ.ม. (84%)
การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
GISTDA ร่วมกับ UN-ESCAP และ Aerospace Information Research Institute, Chinese Academy of Sciences จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “The 2nd Training on Intelligent Technology for Geospatial Management on Agriculture for Lao PDR” ภายใต้โครงการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกข้าวด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มน้ำ ล้านช้าง-แม่โขง ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหน่วยงานภาครัฐ
และภาคการศึกษาของประเทศลาว ในระหว่างวันที่ 4-7 เมษายน 2566 ณ Department of Technology and Communications เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เป็นกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้และการพัฒนากำลังคนให้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อการประเมินความสมบูรณ์และปริมาณผลผลิตของข้าวด้วยเทคนิคขั้นสูงและเป็นการพัฒนาขีดความสามารถให้กับเจ้าหน้าที่ของประเทศลาว