สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 30 มี.ค. 66
ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุ ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
ปริมาณฝนตกใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ปราจีนบุรี (76 มม.) จ.ชัยภูมิ (70 มม.) และ จ.ราชบุรี (63 มม.)
น้ำใช้การแหล่งน้ำทุกขนาด 28,471 ล้าน ลบ.ม. (49%) แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 22,373 ล้าน ลบ.ม. (47%)
คุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลัก อยู่ในเกณฑ์ปกติทุกสถานี
กรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดผลการเบิกจ่ายโครงการปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงระหานไกรเชื่อมต่อบึงใหญ่ ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท เพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิตให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้ก่อสร้างเป็นไปตามรูปแบบและข้อกำหนดในสัญญาจ้าง และให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนงานการเบิกจ่ายงบประมาณของกรมทรัพยากรน้ำ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุเก็บกัก 0.784 ล้าน ลบ.ม. ประชาชนได้รับประโยชน์ 330 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 1,875 ไร่
กอนช.ประสานทุกหน่วย เร่งลดผลกระทบแล้ง อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี หลังประกาศเขตภัยแล้งจังหวัดแรกในรอบปี
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ สั่ง กอนช. เร่งลดผลกระทบพื้นที่ประกาศภัยแล้งประเดิมปี 66 ในพื้นที่ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี หลังผู้ว่าราชการ จ.ชลบุรี เร่งอัดงบประมาณเร่งด่วนลดผลกระทบประชาชน เหตุประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และพื้นที่เกษตร พร้อมมอบ สทนช.ภาค เฝ้าระวัง 4 พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพิ่ม
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. ในฐานะรองผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. มีความเป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้งในช่วงเวลาที่เหลือ โดยเฉพาะเดือนเมษายนของทุกปี ที่หลายพื้นที่อาจเกิดสถานการณ์ขาดแคลนน้ำได้ จึงได้มอบหมาย กอนช. ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยจากสถานการณ์ล่าสุด พบว่า มีพื้นที่ประกาศเขต
การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน คือ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้ประกาศเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 66 โดยเกิดภัยแล้งในพื้นที่หมูที่ 1 – 7 ต.ท่าเทววงษ์ อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ส่งผลกระทบกับประชาชนและพื้นที่การเกษตร ขณะนี้ ปภ.จ.ชลบุรี อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยเร่งด่วน นอกจากนี้ กอนช.ยังได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยทหาร จังหวัด ท้องถิ่น โครงการชลประทาน สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เข้าไปเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ขอรายงานสถานการณ์และการบริหารจัดการน้ำ ประจำวันที่ 30 มี.ค. 2566 ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานตาม 10 มาตรการ รองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี 2565/66
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. มีความเป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่ จึงได้มอบหมาย กอนช. ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พบว่าปัจจุบันมีพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 1 อำเภอ พื้นที่หมู่ที่ 1–7 ตำบลท่าเทววงษ์ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ได้ออกประกาศเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566 ขณะนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อน้ำดื่มแจกจ่ายให้กับประชาชน นอกจากนี้ กอนช.ยังได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยทหาร จังหวัด ท้องถิ่น โครงการชลประทาน เข้าไปเร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนเพิ่มเติม
2. สภาพอากาศ
ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
3. แหล่งน้ำทั่วประเทศ
3.1 แหล่งน้ำทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำใช้การ 28,471 ล้าน ลบ.ม. (49%) แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 22,313 ล้าน ลบ.ม. (47%) ขนาดกลาง 369 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,024 ล้าน ลบ.ม. (60%) และขนาดเล็ก 139,903 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 3,133 ล้าน ลบ.ม. (62%)
3.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ) ปริมาณน้ำใช้การ 8,383 ล้าน ลบ.ม. (46%)
4. ผลการจัดสรรน้ำ (สะสมตั้งแต่ 1 พ.ย. ถึงปัจจุบัน)
4.1 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจัดสรรน้ำได้มีจำนวน 35 แห่ง มีปริมาณน้ำใช้การทั้งสิ้น 22,217ล้าน ลบ.ม. (47%) มีแผนการจัดสรรน้ำ 21,913 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 16,090 ล้าน ลบ.ม. (73%)
4.2 พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแผนการจัดสรรน้ำ 8,600 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการจัดสรรน้ำแล้ว 6,653ล้าน ลบ.ม. (77%)
5. การบริหารจัดการน้ำ การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแจ้งเตือนภัยการคาดการณ์ และการจัดการสภาวะวิกฤติด้านน้ำท่วมและน้ำหลาก-ดินถล่ม ในงานเสวนา DMR Special Talk ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารเพชร กรมทรัพยากรธรณี ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำหลาก-ดินถล่ม รวมถึงความร่วมมือในอนาคตระหว่างกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณีด้านการแจ้งเตือนภัย คาดการณ์ และการจัดการสภาวะวิกฤติด้านน้ำหลาก-ดินถล่ม ในอนาคต